การศึกษาคำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราอาหารไทย: ศึกษาจาก ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์

Main Article Content

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือศึกษาคำ แสดงโภชนลักษณ์
ในภาษาไทยที่ปรากฏในตำราแม่ครัวหัวป่าก์ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์
และเพื่อศึกษาภูมิปัญญาเกี่ยวกับการกินของชาวไทย ที่สะท้อนจากคำ
แสดงโภชนลักษณ์เหล่านั้น ผลการศึกษาผู้วิจัยสามารถแบ่งคำแสดงโภชนลักษณ์
ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ คำแสดงโภชนลักษณ์เกี่ยวกับชื่ออาหาร คำแสดง
โภชนลักษณ์เกี่ยวกับอุปกรณ์การทำอาหาร คำแสดงโภชนลักษณ์เกี่ยวกับ
เครื่องปรุงอาหาร และคำแสดงโภชนลักษณ์เกี่ยวกับการปรุงอาหาร
คำแสดงโภชนลักษณ์แต่ละกลุ่มสะท้อนถึงภูมิปัญญาด้านอาหารการกินของ
คนไทยในด้านจัดสำรับ การจัดเตรียมการทำอาหาร และการปรุงอาหาร

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้

อาจารย์ประจำ สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

เปลี่ยน ภาสกรวงศ์, ท่านผู้หญิง. (2554). ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ เล่ม 1-5.
พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ.
ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2560). คำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราแม่ครัวหัวป่าก์
ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์: ภาพสะท้อนด้านภาษาและ
วิถีชีวิตคนไทย. อุบลราชธานี: งานวิจัยทุนวิจัยจากคณะศิลปศาสตร์
ประจำปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2550). “คำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราอาหารของ
ม.ล.เติบ ชุมสาย และในตำราอาหารเว็บไซต์ปลาแดกดอทคอม.”
ใน รวมบทความวิจัยยำใหญ่ใส่สารพัด: วัฒนธรรมอาหารไทย-
เทศ. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
______________. (2551). “หลากมิติคำแสดงโภชนลักษณ์ในตำรา
อาหารไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส”. วารสารอักษรศาสตร์ ฉบับพิเศษ,
2551: 251-277.