อิทธิพลของวรรณคดีพุทธศาสนาอินเดีย-ลังกาและวรรณคดี พุทธศาสนาล้านนาที่มีต่อการประพันธ์พระเจ้าเลียบโลก

Main Article Content

ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์

บทคัดย่อ

พระเจ้าเลียบโลกเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาล้านนาเรื่องหนึ่งที่มี
ความน่าสนใจ คือเป็นวรรณคดีแห่งการจดบันทึกเส้นทางแสวงบุญเพื่อ
การสักการะพระธาตุและพระพุทธบาทในดินแดนล้านนาและอาณาจักร
ใกล้เคียง โดยวรรณคดีพุทธศาสนาล้านนาเรื่องนี้มีความเชื่อเดิมอยู่ว่า เป็น
ผลงานของพระธรรมรสแห่งหงสาวดี ซึ่งเขียนขึ้นในครั้งที่เดินทางไปศึกษา
พุทธศาสนายังศรีลังกา แต่จากการศึกษาโดยการเทียบเคียงพระเจ้าเลียบ
โลกกับวรรณคดีพุทธศาสนาที่ประพันธ์มาก่อนหน้านี้พบว่า พระเจ้าเลียบ
โลกมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับวรรณคดีพุทธศาสนาเหล่านี้ จึงอาจมีความ
เป็นไปได้ว่า พระเจ้าเลียบโลกเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่ได้รับอิทธิพลการ
ประพันธ์มาจากวรรณคดีพุทธศาสนาอินเดีย-ลังกาและวรรณคดีพุทธ
ศาสนาล้านนา

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์

นักวิชาการอิสระ

References

กรมศิลปากร. (2519). ตำนานมูลศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์.
_______. (2557). พระคัมภีร์ทีปวงศ์ ตำนานว่าด้วยการประดิษฐาน
พระพุทธศาสนาในลังกาทวีป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนัก
วรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
กตัญญู ชูชื่น. (2525). พระเจ้าเลียบโลกฉบับล้านนา: บทวิเคราะห์.
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจารึกภาษาไทย บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์. (2555). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาใน
ป ร ะ เ ท ศ ศ รีลัง ก า . ก รุง เ ท พ ฯ : สำ นัก พิม พ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2548). “พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก : เรื่องเล่าชนเผ่า
ไท”. ใน วารสารไทยศึกษา. 1 (1)
เธียรชาย อักษรดิษฐ์. (2552). ตำนานพระเจ้าเลียบโลก การศึกษาพื้นที่
ทางสังคมและวัฒนธรรมล้านนา ภูมินาม ตำนาน ผู้คน.
เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ธารปัญญา.
พรรณเพ็ญ เครือไทย (บรรณาธิการ). (2540). วรรณกรรมพุทธศาสนาใน
ล้านนา. ม.ป.ท.: ตรัสวิน.
พัฒน์ เพ็งผลา. (2549). ประวัติวรรณคดีบาลี. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
โพธิรังสี,พระ. (2554). เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย ทั้ง
ภาษาบาลีและคำแปล. นนทบุรี: ศรีปัญญา.
ภัทรพร สิริกาญจน. (2557). พระพุทธศาสนาในประเทศไทย: เอกภาพ
ใ น ค ว า ม ห ล า ก ห ล า ย . ก รุง เ ท พ ฯ : สำ นัก พิม พ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลภาษา
ไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 6, 13, 56, 61, 71,
72 และ 73. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2554). ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล เล่มที่ 1.
พิมพ์ครั้งที่ 10. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
รัตนาพร เศรษญกุล. (2552). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจวัฒนธรรม แอ่ง
เชียงใหม่-ลำพูน. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.
สุกัญญา ภัทราชัย (บรรณาธิการ). (2538). วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2526). ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและ
ลังกา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระ
สุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพิ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนังสือตำนานพระเจ้าเลียบโลก. (2541). หนังสือที่ระลึกงานทำบุญคล้าย
วันเกิดครบ 75 ปี ท่านเจ้าคุณพระสุพรหมยานเถร (ทอง สิริมังฺค
โล) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2541.
อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2557). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัย ชินกาลมาลินีและจามเทวีวงส์ : ตำนาน
บ้านเมืองล้านนา ตำนานพระศาสนาห้าพัน. กรุงเทพฯ:
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).