การสืบทอดแนวพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนา มนุษย์” ในมิติมนุษยศาสตร์ จาก “พระบรมราโชวาท” “พระมหาชนก” และ “ทองแดง”

Main Article Content

อัควิทย์ เรืองรอง

บทคัดย่อ

บทความนี้ มุ่งศึกษาแนวพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชาด้าน
การพัฒนามนุษย์” ในมิติของมนุษยศาสตร์จากพระบรมราโชวาท
พระมหาชนก และทองแดง ด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อวิเคราะห์คุณค่า
เชิง “จริยปฏิบัติ” ด้านการพัฒนามนุษย์จากพระราชนิพนธ์ด้วยการ
วิเคราะห์และใคร่ครวญผ่าน “ภาษา” ตามขอบข่ายของมนุษยศาสตร์
ซึ่งเป็นการพัฒนามนุษย์ที่มีความจำเป็นมาทุกยุคทุกสมัยแต่มักถูกละเลย
และเพื่อเสนอแนวทางการสืบทอดแนวพระราชดำริดังกล่าวให้ดำรงอยู่และ
มีผลกระทบต่อการพัฒนามนุษย์ในวงกว้างสืบไป
คุณค่าด้าน “จริยปฏิบัติ” เพื่อพัฒนามนุษย์ พบว่า “พระบรม
ราโชวาท” ชี้ให้เห็นคุณค่าใน 3 ประการ คือ “มนุษย์พัฒนาได้ด้วยการศึกษา”
“มนุษย์ต้องมีคุณธรรมกำกับความรู้” และ “มนุษย์พัฒนาตนจนถึงพร้อม
แล้วจะไปพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนสืบไป” เรื่อง “พระมหาชนก” พบคุณค่า
ด้านจริยปฏิบัติเพื่อพัฒนามนุษย์ใน 2 ประการ คือ “พัฒนามนุษย์ด้วยความ
เพียร” และ “พัฒนามนุษย์ด้วยปัญญา” เรื่อง “ทองแดง” ใช้กลวิธีทาง
ภาษาและภาพพจน์เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า จริยปฏิบัติอันถึงพร้อมของ
สุนัขเชื่อมโยงมาสู่จริยปฏิบัติเพื่อพัฒนามนุษย์ใน 4 ประเด็น คือ ความกตัญญู
ความมีปัญญา ความจงรักภักดี และ ความวิริยะพากเพียร
แนวทางการสืบทอดแนวพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชาเพื่อ
การพัฒนามนุษย์” ให้ดำรงอยู่และมีผลกระทบต่อการพัฒนามนุษย์ในวง
กว้าง คือ รูปแบบการศึกษาทั้ง การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และ การศึกษาตามอัธยาศัย ผ่านองค์ประกอบของหลักสูตร และ
กิจกรรมการเรียนการสอน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

อัควิทย์ เรืองรอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2537). ข้าฯคือบัณฑิต: หลอมแนวคิดคนรุ่น
ใหม่สู่ภาวะปัญญาแห่งยุค. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.
ชุษณะ รุ่งปัจฉิม. (2545). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา (1-77). ใน การ
เปลี่ยนแปลงสังคมและการบริหารการพัฒนา หน่วยที่ 7-10.
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2547). ความรู้ของมนุษย์ : วิทยาศาสตร์
สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์. ใน ปรีชา ช้างขวัญยืน (3-20).
การวิจัยทางมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา บริสุทธิ์. (2542). วิเคราะห์วรรณคดีไทยโดยประเภท. พิมพ์ครั้งที่
2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). การศึกษา: เครื่องมือพัฒนาที่ยัง
ต้องพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. (2545). ทองแดง.
กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิง.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. (2554). พระมหาชนก.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์
ฉบับประมวลศัพท์ [ชำระเพิ่มเติมช่วงที่ 1]. พิมพ์ครั้งที่ 12.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2526). พุทธศาสนากับสังคมไทย.
กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ.
2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิชชิ่ง.
รายการเดินหน้าประเทศไทย. (2560). สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม
2560.http://www.thaigov.th/index.php/th/program2/i
tem/108648-id108648
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2552). จากเก่าสู่ใหม่วรรณศิลป์ไทยไม่สิ้นสูญ.
กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศุลีพร บุญบงการ. (2549). รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์
จากสหประชาชาติ. ใน วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา, 6-12.
ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. (2560). สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์
2560. จาก
http://www.thaigov.go.th/index.php/program2/item/
109857-id109857.
สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). คำแนะนำการเขียน
โครงการวิจัยในสาขาปรัชญา. กรุงเทพฯ : สำนักงาน
คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. (อัดสำเนา).
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2526). ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและ
ลังกา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.