ลักษณะเด่นของเนื้อหาจาก “เรื่องเล่า” ที่เร้าอารมณ์สะเทือนใจในเหตุการณ์สวรรคต ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเสด็จสวรรคตในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สร้างความรันทดทุกข์อาลัยในพสกนิกรในพระองค์อย่าง
หาที่สุดไม่ได้ ทุกคนต่างแสดงออกในเหตุการณ์อันแสนวิปโยคนี้ด้วยวิธีต่างๆ กัน การเล่าเรื่องราวในเหตุการณ์สวรรคตในรูปแบบ “เรื่องเล่า” ในสื่อออนไลน์เป็นวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจ ใคร่ศึกษาดังเรื่องเล่าที่เก็บข้อมูลจากเว็บ https://storylog.com ช่วงเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมกราคม 2560 จำนวน 56 เรื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเด่นและคุณค่าของเนื้อหาเหล่านี้
ผลการศึกษาพบว่า “เรื่องเล่า” ที่สะเทือนใจในเหตุการณ์สวรรคตนี้มีลักษณะเด่นคือ อิงอยู่กับข้อมูลจริงที่มี “อารมณ์สะเทือนใจ” เป็นเครื่องน้อมนำให้ “สาร” หรือ “เนื้อหา” ที่อุดมด้วยอารมณ์และความคิด “สื่อ” ถึงผู้เล่าและผู้รับสารได้สัมฤทธิ์ผลทั้งยังพบว่าเนื้อหาที่ “เร้า” อารมณ์สะเทือนใจมีลักษณะ “ร่วม” ที่สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ เนื้อหาที่กล่าวถึงการสูญเสีย และเนื้อหาที่กล่าวถึงการสดุดี โดยมี “ภาษา” เป็นเครื่องมือในการเร้าความสะเทือนใจนั้น เนื้อหาทั้ง 2 ลักษณะนี้มีความสัมพันธ์กันคือ จะกล่าวถึงการสูญเสียก่อนแล้วจึงกล่าวถึงการสดุดีตามลำดับส่วนในด้านคุณค่านั้นพบว่ามี 3 ประการคือ คุณค่าด้านการศึกษาหรือให้ความรู้ คุณค่าด้านการพัฒนามนุษย์ และคุณค่าด้านการเข้าใจในสัจธรรมของชีวิต ทั้งลักษณะเด่นและคุณค่าดังกล่าวร่วมสร้างความแยบคายให้แก่เรื่องเล่าได้อย่างดียิ่ง
Article Details
References
นพพร ประชากุล. (2539). “คำนำเสนอ” ในเชิงอรรถวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ :
มติชน.
นพพร ประชากุล. (2542). “คำนำเสนอ” สัญศาสตร์โครงสร้างกับการวิจักษ์ ภาพยนตร์, ใน แล่เนื้อเถือหนังเล่ม 2. กรุงเทพ : มติชน.
นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม ๒ ว่าด้วยมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อ่าน.
เสฐียรโกเศศ. (2533). การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
ออนไลน์
โจ ปิยะเทพ ตรึงจิตวิลาส. (2559). แผ่นดินต้องจารึก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2559 จาก https://storylog.com.
ณัฐรดี มีจำนงค์. (2559). คิดถึงพ่อจากทางไกล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559 จาก https://storylog.com.
Chanuikarn. (2559). และในหัวใจพวกเราชาวไทยก็ยังจะมีในหลวงอยู่เสมอ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559 จาก https://storylog.com.
Forest. (2559). บันทึกจากคนสองแผ่นดิน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559 จาก https://storylog.com.
Joker. (2559). วันที่หัวใจคนไทยทั้งประเทศแตกสลาย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559 จาก https://storylog.com.
Khun. (2559). ครูแล สังข์สุข พระสหายแห่งหมู่บ้านเขาเต่า. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2559 จาก https://storylog.com.
May_Be_Need. (2559). ประเทศที่สิ้นหวัง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559 จาก https://storylog.com.
Paratiya_k. (2559). 13 ตุลา : วันฟ้าเศร้า. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559 จาก https://storylog.com.
Pattiesitra. (2559). รักในหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2559 จาก
https://storylog.com.
Pen. (2559). วันที่คุณตาไม่อยู่:Leave but Not Left. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559 จาก https://storylog.com.
Tesicha. (2559). ในหลวงในดวงใจ(เตือนใจ). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559 จาก https://storylog.com.
Tract. (2559). รักในหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2559 จาก
https://storylog.com.
TuAlisa. (2559). พ่อหลวง...สวรรคต...ความจริงที่เจ็บปวดที่สุดในชีวิต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559 จาก https://storylog.com.
UNIIZUQ. (2559). พ่อของแผ่นดิน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559 จาก https://storylog.com.