รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารด้านการ สอนงานและมอบหมายงานของผู้บริหารสายสนับสนุนสู่องค์กรแห่ง การเรียนรู้ สานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

นลินี ธนสันติ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ในการพัฒนาสมรรถนะบริหารด้านการสอนงาน และมอบหมายงานของผู้บริหารสายสนับสนุนและบริบทของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้กำหนดหลักเกณฑ์ด้านขีดความสามารถหรือสมรรถนะบริหาร (Competencies) ของผู้บริหารสายสนับสนุน ไว้ 10 ด้าน แต่ยังไม่มีการจัดทำแผนการพัฒนาการจัดการความรู้ ที่จะเสริมสร้างสมรรถนะของผู้บริหารสายสนับสนุนตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง  และจากการศึกษาพบว่าสมรรถนะบริหารด้านการสอนงานและการมอบหมายงาน (Coaching and Empowering Others) เป็นสมรรถนะบริหารที่จำเป็นสูงสุดในการจัดการความรู้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้บริหารสายสนับสนุน  และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสายสนับสนุน


 ในการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษา คือ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มบุคลากร สายสนับสนุน และกลุ่มบุคลากรภายนอก จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสัมภาษณ์ปลายเปิดไม่มีโครงสร้างแน่นอน (Unstructured interview)  2) การสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า


ผลการวิจัยนำมาสู่รูปแบบการจัดการความรู้ของตัวแบบ Coaching Model เป็นกระบวนการที่มีรูปแบบกลไก วิธีการ กิจกรรม และการประเมินผล 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การพูดคุยหารือร่วมกัน (C-Collaboration) 2) การกำหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมาย/กิจกรรม/ระยะเวลา/ผลผลิต/ผลลัพธ์ (O-Objective) 3) ลงมือปฏิบัติ (A–Action) 4) การประเมิน (C-Check) 5) แนวคิดองค์รวม (H-Holism) 6) การถอดองค์ความรู้มาเป็นเอกสาร (I-Innovation) 7) การจัดตั้งกลุ่มพี่เลี้ยงด้านต่างๆ (N-Networking) 8) การพัฒนาตน สู่คน สู่องค์กรในการนำเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (G-Goal for resultant) จากการนำกระบวนการทั้ง 8 ขั้นตอนไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อพัฒนาให้ผู้บริหารสายสนับสนุน สำนักงานอธิการบดี พัฒนาความรู้ ทักษะและคุณลักษณะส่วนบุคคล เป็นต้นแบบของบุคลากรสายสนับสนุนในการพัฒนาประสิทธิภาพสมรรถนะบริหารด้านการสอนงานและมอบหมายงาน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกิดทักษะในการจัดการความรู้ มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลากรอื่นๆ ในสำนักงานอธิการบดี มีการขับเคลื่อนกิจกรรมโดย การสร้างเครือข่ายในการสอนงานและมอบหมายงาน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่นำไปสู่บรรยากาศขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นกระบวนการที่พัฒนาขึ้นนี้จึงเป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่สามารถเป็นต้นแบบให้บุคลากรในการพัฒนาสมรรถนะ และประสิทธิภาพบริหารด้านการสอนงาน และมอบหมายงานในระดับสำนัก/หน่วยงานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นลินี ธนสันติ

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190

References

กรกนก ทิพรส และพิชัย ตั้งภิญโญพัฒคุณ. (2548). “KM ก้าวต่อไปของการพัฒนาหน่วยราชการ (KM: the next step of official institutions development),” จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 103 (มกราคม-มีนาคม 2548), 89-95.
กุณฑิกา สงวนศักดิ์ศิริ. (2554). รูปแบบการจัดการความรู้ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กานต์สุดา มาฑะศิรานนท์. (2546). การนำเสนอระบบการจัดการความรู้สำหรับองค์กรภาคเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาอุดมศึกษา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉลาด จันทรสมบัติ (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้องค์กรชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2548). “บุคลากรทางการศึกษา : ทักษะในการจัดการความรู้ (Knowledge Management Skill : KMS) ,” วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น 1 (มกราคม-มิถุนายน 2548), 11-13.
ฐิติพร ชมภูคำ. (2548). “การบริหารเพื่อจัดการความรู้,” จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 103 (มกราคม-มีนาคม 2547), 21-29.
โนนากะ และทาเคอุชิ ( Nonaka & Takeuchi). (2550). มนุษย์ คือ ผู้สร้างความรู้ KM คือ วิถีการดำเนินชีวิต. ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 มกราคม
พ.ศ. 2550.
บุญส่ง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตภาควิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจน์ สะเพียรชัย. (2546). ผู้บริหารสถานศึกษากับการวิจัยเพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.


พร ศรียมก. (2545). ศึกษาสมรรถนะในการสอนงานของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมและเพื่อพัฒนารูปแบบ การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการสอนงานของหัวหน้างาน ในโรงงานอุตสาหกรรม” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาอุดมศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กองแผนงาน. 2560. “รายงานประจำปี 2560.” (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2018092010210949.pdf (24 กันยายน 2561)
วิโรจน์ สารรัตนะ และอัญชลี สารรัตนะ. (2545). ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ : ข้อเสนอผลการวิจัยเพื่อการพัฒนาและการวิพากย์. กรุงเทพมหานคร : ทิพยวิสุทธิ์.
วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ. (2548). “การจัดการความรู้ทางด้านธุรกิจ,” วารสาร
นักบริหาร. 1 มกราคม-มีนาคม 2548. หน้า 17-21.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2548). “การศึกษาคือพลังอำนาจแห่งชาติ,” วารสารการศึกษาไทย. 7 เมษายน 2548. หน้า 15-20.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องสมรรถนะของข้าราชการ, 31 มกราคม 2548 ณ ห้องประชุม กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2550). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน กพ.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. กรุงเทพมหานคร : สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
Bennett, J.K., and O, Brien, M.J. (1994). The building blocks of the learning Organization. Training, 3 (June 1994), 41-49.
Duke, Daniel, L. (2004). The Challenges of Educational Change. Pearson Education, Inc.
Marquardt, M.J. (2002). Building the learning organization : A systems approach to quantum Improvement and global success. New York : McGraw-Hill.
Marquardt, M.J. and Reynolds, A. (1994). The global learning organization. New York: IRWIN.
Pedler,M., and Others. (1991). The Learning company: A strategy for sustainable development. Maidenhead: McGraw-Hill.
Senge, P.M. (1990). The fifth discipline : The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Currency Doubleday.