ผู้ประกอบการจีนรุ่นใหม่กับการเปลี่ยนวัฒนธรรมการค้าชายแดนภาคเหนือไทย

Main Article Content

อรัญญา ศิริผล

บทคัดย่อ

การเคลื่อนย้ายของคนจีนรุ่นใหม่เข้ามายังชายแดนภาคเหนือตอนบนไทยปรากฏชัดเข้มข้นมากขึ้นในช่วงทศวรรษ 2000 ภายหลังนโยบายการเปิดชายแดนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคระหว่างจีนกับประเทศลุ่มน้ำโขงมีผลดำเนินการอย่างจริงจัง บทความนี้สำรวจสถานการณ์ดังกล่าว มุ่งความสนใจกรณีศึกษาการเคลื่อนย้ายของผู้ประกอบการจีน “รุ่นใหม่” ในอำเภอเชียงแสน หนึ่งในเมืองชายแดน จังหวัดเชียงรายที่เชื่อมต่อกับจีนตอนใต้ผ่านลาวและพม่า งานศึกษานี้เสนอว่า ผู้ประกอบการจีนรุ่นใหม่ได้ใช้ยุทธวิธีอันหลากหลายในการทำการค้าชายแดน โดยเฉพาะระบบเครือข่ายความสัมพันธ์แบบจีนที่ยืดหยุ่น ช่องว่างทางกฎหมาย ทำให้พวกเขาสามารถสั่งสมประสบการณ์ ขยายการค้าข้ามชาติและการเคลื่อนย้ายในภูมิภาคได้อย่างดี ขณะที่ผู้ค้าท้องถิ่นไทยกลับไม่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริบทใหม่ ทำให้พวกเขาเริ่มเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อรัญญา ศิริผล, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2538). ไทย-พม่า-ลาว-จีน: สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ สี่เหลี่ยม
วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ยศ สันตสมบัติ. (2557). มังกรหลากสี: การขยายอิทธิพลเหนือดินแดนและพันธกิจ
เผยแผ่อารยธรรมในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: ส้านักงานกองทุนสนับสนุนการ
วิจัย.
วาสนา ละอองปลิว (2549). เชียงแสน: การค้า การท่องเที่ยวและปฏิสัมพันธ์ทาง
สังคมวัฒนธรรมในพื นที่ชายแดน. งานวิจัยในชุดโครงการ “อ้านาจ พื้นที่
และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย”.
ส้านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อรัญญา ศิริผล. (2555). เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องการเคลื่อนย้าย : กรณีศึกษา
ผู้ค้าชาวจีนบริเวณชายแดนประเทศลุ่มแม่นาโขง. รายงานวิจัยภายใต้ชุด
โครงการ “ชนชายแดนกับปฏิบัติการข้ามพรมแดนในภาคเหนือของไทย”
ส้านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2547). จีนโพ้นทะเลสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : Higher Press
สนับสนุนโดยส้านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).