การวิเคราะห์สื่อสัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์เพื่อสะท้อน ภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทยจากทฤษฎีสัญวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง การวิเคราะห์สื่อสัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์
เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทยจากทฤษฎีสัญวิทยา เป็นส่วนหนึ่ง
ของงานวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพความเชื่อเรื่องกุมารทอง
ในสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ เพื่อสะท้อน
ภาพความเชื่อเรื่องกุมารทองในสังคมไทย โดยศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องกุมารทอง
เพื่อเป็นพื้นฐานประกอบการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนมุมมองที่ปรากฏใน
สังคมไทย โดยได้นาทฤษฎีสัญวิทยามาเป็นพื้นฐานแนวคิดที่สาคัญในการออกแบบสื่อ
สัญลักษณ์ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบด้านอุปกรณ์
ประกอบการแสดงที่จะสนับสนุนให้การแสดงมีความสมบูรณ์ โดยมีวิธีการดาเนินการ
วิจัยเชิงสร้างสรรค์และวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย 1. การสารวจข้อมูลเชิงเอกสาร
2. การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 3. การพิจารณาสื่อสารสนเทศ 4. การสารวจ
ข้อมูลภาคสนาม 5. การวิเคราะห์โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน 6. การใช้ประสบการณ์
ของผู้วิจัย 7. การแสวงหาสื่อสัญลักษณ์ที่สอดคล้องกับการสร้างสรรค์การแสดง
จากการศึกษา พบว่า ทฤษฎีสัญวิทยา “Semiology” ของ Roland Barthes
เป็นทฤษฎีที่เหมาะสมในการนามาเป็นพื้นฐานในการให้ความหมายของอุปกรณ์การ
แสดงเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ให้เกิดมิติของการตีความที่น่าสนใจ
โดยตระหนักถึงสื่อสัญลักษณ์ที่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องกุมาร
ทอง เช่น เตียง น้าแดง และของเล่นเด็ก โดยสื่อสารความหมายในทางการแสดงที่มี
ความหมายโดยอรรถ และความหมายโดยนัยอย่างเช่น เตียงที่มีความหมายโดยอรรถ
คือ เครื่องเรือนที่ใช้ในการรองรับร่างกายของมนุษย์ขณะนอนหลับ และความหมายโดยนัย
คือ จุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ และเป็นจุดจบของชีวิตที่ต้องนามาทาเป็นกุมารทอง อัน
เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกุมารทองในวรรณกรรมเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
Article Details
References
นิตี้เพรส.
แก้วกล้า อาคม. (2556). อาคมของขลัง พลังจิตที่มองไม่เห็น. กรุงเทพฯ : อักษรเงิน
ดี.
ธรากร จันทนะสาโร. อาจารย์ประจาสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์, 12 ตุลาคม 2561.
วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร. (2555). เสภาเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน. กรุงเทพฯ : ไทย
ควอลิตี้บุ๊คส์.
เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน). (2502). ศาสนาเปรียบเทียบ. พระนคร : รุ่งเรือง
ธรรม.