ทำนองฆ้องวงใหญ่เพลงสาธุการของไทย ลำว กัมพูชา : กำรศึกษาเปรียบเทียบ

Main Article Content

มิตต ทรัพย์ผุด

บทคัดย่อ

เพลงสาธุการเป็นเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดใน
ดนตรีของไทย ลาว และกัมพูชา เพลงสาธุการเป็นเพลงหนึ่งที่บรรเลงรวมอยู่ในเพลง
ชุดโหมโรงทั้งของไทย ลาว และกัมพูชา เราอาจสันนิษฐานว่าในวัฒนธรรมพิณพาทย์
หรือปี่พาทย์ของไทย ลาว และกัมพูชา ทำนองฆ้องวงใหญ่อาจทำหน้าที่เป็นทำนองหลัก
ของวง ดังนั้น ทำนองฆ้องวงใหญ่เพลงสาธุการของแต่ละวัฒนธรรมมีความเหมือนกัน
อย่างไรบ้าง และมีอะไรเป็นลักษณะเฉพาะของทำนองฆ้องวงใหญ่เพลงสาธุการของไทย
ลาว และกัมพูชา หรือไม่ ประเด็นปัญหาของบทความนี้คือ ทำนองฆ้องวงใหญ่ของเพลง
สาธุการที่มีความสาคัญมากในฐานะเป็นเพลงแรกในสายปี่พาทย์และมีโอกาสได้รับการ
ปรับเปลี่ยนน้อยมาก ทั้งๆ ที่ดนตรีของไทย ลาว และกัมพูชามีพื้นฐานของวัฒนธรรม
ดนตรีที่ใช้ไหวพริบในการสร้างความงดงามด้วยทำนองเม็ดพรายนั้น มีความร่วมกันของ
ทำนองและมีลักษณะเฉพาะของทำนองอย่างไร
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทำนองฆ้องวงใหญ่เพลง
สาธุการของไทย ลาว และกัมพูชา ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ทำนองฆ้องวงใหญ่
เพลงสาธุการของไทย ลาว และกัมพูชา มีความยาวของทำนองเท่ากัน กล่าวคือ 33
ประโยค หรือ 66 วรรค เสียงลูกตกท้ายวรรคทำนองตรงกันทุกตาแหน่ง ใช้บันไดเสียง
หลักสองบันไดเสียงคือ บันไดเสียงซอลและบันไดเสียงเรเหมือนกัน มีข้อที่น่าสังเกตว่า
เพลงสาธุการของไทยเท่านั้นมีทำนองสำหรับบรรเลงเที่ยวกลับ ประการที่สอง
การศึกษาลักษณะเฉพาะของทำนองฆ้องวงใหญ่เพลงสาธุการ ต้องอาศัยเกณฑ์ของ
สานวนกลอนในแต่ละวรรค ระบบทำนอง และลีลาการบรรเลง อาจสรุปได้ว่า สิ่งที่
สร้างเอกลักษณ์ของทำนองฆ้องวงใหญ่ คือ รูปแบบของทำนอง การสร้างเสียง และ
ลีลาการบรรเลง การเปรียบเทียบทำนองฆ้องวงใหญ่เพลงสาธุการระหว่างวัฒนธรรม
ไทย ลาว และกัมพูชา นาไปสู่การอภิปรายเรื่องความแตกต่างระหว่างทำนองฆ้องวง
ใหญ่กับทำนองลูกฆ้อง

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

มิตต ทรัพย์ผุด

อาจารย์ประจำหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

เจนดุริยางค์, พระ. (2493). เพลงชุดโหมโรงเย็น. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2551). ดนตรีลำวเดิม. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่ม
น้าโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัตน์. (2534). กำรวิเครำะห์ทำงฆ้องเพลงสำธุกำร. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธนวัฒน์ บุตรทองทิม. (2553). วงพิณพาทย์ครูคูนสี ไชยะมงคล แขวงจาปาสัก
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วำรสำรศิลปกรรมศำสตร์
มหำวิทยำลัยขอนแก่น ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน), หน้า 141-
162.
พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเครำะห์. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สามิตต์ ทรัพย์ผุด. (2542). “รายชื่อบทเพลงเขมร” ใน จักรฤทธิ์ อุทโธ และสามิตต์
ทรัพย์ผุด, บรรณาธิการ. สังคีตสัมพันธ์ครั้งที่ 2 เพลงสำเนียงภำษำ.
อุบลราชธานี : ชมรมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, หน้า 89-103.
สื่อออนไลน์
DKDKH KHSR. (2561). BiNBaTü ePøgTI01 - saFukar. RNM CD Vol.045 01.
: https://www.youtube.com/watch?v=KT9 iJievkXE, สืบ ค้น เมื่อ
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2561.