ลาง” บทเพลงบันทึกความทรงจาของกลุ่มชาติพันธุ์กะตู้ในลาวตอนใต้

Main Article Content

พัน พงษ์ผล

บทคัดย่อ

การบันทึกความทรงจาในบทเพลง “ลาง” เป็นวิธีที่กลุ่มชาติพันธุ์กะตู้ในลาว
ตอนใต้ใช้แทนการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ในช่วงสงครามปลดปล่อยประชาชนปฏิวัติลาว จนกระทั่งสงครามได้สิ้นสุดลง เพลงลาง
เป็นบทเพลงสั้นๆ ประเภทร้อยเนื้อทานองเดียว ขับร้องเป็นภาษากะตู้ผสมผสานกับ
ภาษาเกรียง (แงะ) ภาษากะตู้คาว่า “ลาง” แปลว่า “สนุกสนาน” มีเนื้อร้องทั้งหมด
11 บท ฉันทลักษณ์ของเนื้อร้อง มีประโยคคาสร้อยแล้วต่อด้วยประโยคที่มีการสัมผัส
ทั้งวรรณยุกต์ พยัญชนะ และไม่มีการสัมผัสคา ใช้เครื่องดนตรีที่ชื่อว่า “ร่องแร่ง” ทา
จากไม้ไผ่ 2 ท่อนคล้ายไม้เท้ายาวตามความสูงของนักดนตรี ส่วนปลายไม้เป็นกระป๋อง
ใส่ลูกหิน เมื่อนามากระทุ้งกับพื้นดิน จะได้เสียงแบบเขย่า (shaken) เป็นจังหวะหนัก
เบาประกอบการขับร้อง
เพลงลาง เป็นบทเพลงที่ไม่มีวันจบแบบสมบูรณ์ สามารถแต่งต่อไปได้เรื่อยๆ
เปรียบเสมือนเครื่องมือบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม โดยเนื้อร้องได้ถูก
ประพันธ์ขึ้นจากประสบการณ์ของนักดนตรีกะตู้เอง เพื่อบันทึกและบอกเล่าตามลาดับ
เหตุการณ์ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้เรื่องราวต่างๆ ในอดีต และยังแสดงให้เห็นถึงความสุข
ของคนในสังคมกะตู้ที่สันติภาพและภราดรภาพได้เกิดขึ้นแล้วในภูมิภาคแห่งนี้ ข้อมูล
จากบทความนี้ ผู้เขียนได้จากการลงศึกษาภาคสนาม (2550) เนื้อร้องเพลงลางที่บันทึก
มานั้น สิ้นสุดในบทที่ 11 ช่วงกาลังบุกเบิกแขวงเซกองก่อนแยกออกมาจากแขวงสาละ
วันในปี พ.ศ. 2527 และหลังจากนั้นไม่พบการแต่งเพิ่มอีกเลย อาจเป็นสัญญาณของ
การสูญเสียไปอย่างถาวรของเพลงลาง เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

พัน พงษ์ผล

อาจารย์ประจำหลักสูตรลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

ธีระพันธ์ ล.ทองคา. (2544). ภาษาของนานาชนเผ่าในแขวงเซกองลาวใต้.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัน พงษ์ผล. (2551). ดนตรีกะตู้:แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา, มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2542). โครงการสารคดีลาวตอนล่าง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เอ โดนอาหล่า. 2550. นักดนตรีชนเผ่ากะตู้. สัมภาษณ์, 5 กรกฎาคม 2550
£¿À숺¦
÷쾸ñê
º¤À²ñ© ¡‡¤¦½©¾ Áì½ Nancy A Castello. 1993.
òê
¾
²oeÀ
´õº¤Á콦ñ¤£ö´À°‰¾¡½ªø. ¸¼¤¥ñ- ¦¯¯ 쾸:
»¤²ò´Á¹È¤ìñ©.
(คาเลื่อน สุลาวัน, ทองเพ็ด กิ่งสะดา และ Nancy A Castello. 1993.
นิทานพื้นเมืองและสังคมเผ่ากะตู้. เวียงจันทน์ สปป.ลาว: โรงพิมพ์แห่งรัฐ.)
¡¾
©¿ìö¤§ó¸ò©¢º¤À°‰¾¡½ªø®ø»¾.
¸¼¤¥ñ- ¦¯¯ 쾸: »¤²ò´Á¹È¤ìñ©.
(คาเลื่อน สุลาวัน, ทองเพ็ด กิ่งสะดา และ Nancy A Castello. 1996.
ประเพณีศึกษาการดารงชีวิตของเผ่ากะตูโบราณ. เวียงจันทน์ สปป.ลาว:
โรงพิมพ์แห่งรัฐ.)
เอกสารออนไลน์
สมชาย ธนสินชยกุล, 2549. แบบของการจดจาของมนุษย์กับกระบวนการเรียนรู้.
โครงการวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น (สกว.) ที่มา ประชาคมวิจัยฉบับที่ 65 เมื่อวันที่ 21
กุมภาพันธ์ 2549 จาก https://www.trf.or.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562
ความหมาย Scrapbook (สแครปบุ๊ค) จาก http://www.sakura.in.th/ เข้าถึงเมื่อ
วันที่ 1 มีนาคม 2562