การรับรู้และความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจ่านกร้องที่มีต่อสื่อประกอบการเรียนรู้แบบอินโฟกราฟิก รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ

Main Article Content

จักรภัทร เครือฟัก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการรับรู้สื่อประกอบการเรียนรู้แบบอินโฟกราฟิก ในวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจ่านกร้อง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้แบบอินโฟกราฟิก ในวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจ่านกร้อง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักเรียน 40 คนจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจ่านกร้องอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินการรับรู้ของผู้เรียนต่อสื่อประกอบการเรียนรู้แบบอินโฟกราฟิก และแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อประกอบการเรียนรู้แบบอินโฟกราฟิก ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีการรับรู้สื่อประกอบการเรียนรู้แบบอินโฟกราฟิก ในวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจต่อสื่อประกอบการเรียนแบบอินโฟกราฟิกเรื่องดาราศาสตร์และอวกาศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งด้านความเข้าใจ ด้านรูปแบบ และด้านการใช้งาน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านความเข้าใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านรูปแบบ และด้านการใช้งาน ตามลำดับ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

MongkhonSan, Benjarat. (2012). The development of multimedia computer-assisted instruction with two-dimensional cartoon through the application of the collaborative learning with stad technique on the lesson of planet and space matthayomsuksa four students. [in thai]. Master’s dissertation, King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
National Education Act (2013). National Education Act 1999 Amendment No. 2 B.E. 2542 Amendment No. 3 B.E. 2553. [in thai]. Bangkok: The Book.
Panthumart, Sureeporn. (2010). Results of Learning Activities on Substance in Daily Life Science Learning Area Mathayomsuksa 6 by the seven steps of enquiry-based learning. Master’s dissertation, Mahasarakham University. [in thai]
Saithong, Pongphiphat. (2014). The Development of Motion Infographic Demonstrating the Research Processes for the Graduate Studentsin Faculty of Informatics, Mahasarakham University. [in thai]. The Fine and Applied Arts Journal, 9 (2): 87-107.
Thinwirat, Narumon. (2012). The influence of info graphics on complex information: a case study of "Roo Soo Flood". [in thai]. Master’s dissertation, Silpakorn University.