จากบรรษัทข้ามชาติตะวันตกสู่อิทธิพลจีน : การขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตรกล้วย ผลกระทบและการปรับตัวของท้องถิ่น

Main Article Content

aranya Siriphon

บทคัดย่อ

หากสำรวจการปลูกกล้วยในฐานะอุตสาหกรรมเกษตรส่งออกในอดีตถึงปัจจุบัน จะพบว่ากล้วยไม่ใช่ผลไม้เศรษฐกิจเกษตรที่ผลิตเพื่อบริโภคและส่งออกทั่วไป แต่กลับพบชุดความสัมพันธ์เชิงอำนาจผูกโยงประวัติศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศทั่วโลก กล้วยจึงสะท้อน “ความเป็นพืชการเมือง” แห่งการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจที่บรรษัทข้ามชาติตะวันตกแย่งยึดเอาประโยชน์มายาวนาน บทความนี้เริ่มความสนใจจากการปลูกกล้วยในฐานะเศรษฐกิจภาคเกษตรที่กำลังเผชิญกับอิทธิพลจีนผ่านการเคลื่อนย้ายของกลุ่มทุนจีนปลูกกล้วยหอมพันธุ์คาเวนดิช (Cavendish) ในภาคเหนือของไทยและลุ่มน้ำโขง สถานการณ์นี้ถูกตั้งคำถามจากคนท้องถิ่นต่อประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา บทความนี้ใช้วิธีศึกษาวิจัยเอกสารเปรียบเทียบอุตสาหกรรมเกษตรกล้วยของนักลงทุนจีนในลุ่มน้ำโขงกับกรณีศึกษาต่างประเทศในละตินอเมริกา แคริบเบียนและแอฟริกา ซึ่งพบว่า ไม่เพียงอิทธิพลจีนกับการขยายอุตสาหกรรมกล้วยในลุ่มน้ำโขงที่กำลังสร้างผลกระทบต่อสังคมท้องถิ่นเท่านั้น แต่ประวัติศาสตร์การเมืองเรื่องกล้วยได้ชี้ให้เห็นกระบวนการกลุ่มทุนตะวันตกที่ขูดรีดแรงงานและสร้างผลกระทบต่อท้องถิ่นมายาวนาน นอกจากนี้ บทความได้ชี้ให้เห็นแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรท้องถิ่นทวีปต่าง ๆ กับการขยายตัวของอุตสาหกรรมกล้วยกลุ่มทุนตะวันตก ขณะที่กลุ่มทุนจีนและอุตสาหกรรมกล้วยจากจีนที่ขยายตัวในไทยและลุ่มน้ำโขงปัจจุบันก็มีชุดความสัมพันธ์ทางการผลิตระหว่างทุน แรงงานและการใช้ทรัพยากรเฉพาะ รวมทั้งรูปแบบการปรับตัวของเกษตรกรไทยและในลุ่มน้ำโขงที่ขึ้นกับเงื่อนไขเชิงพื้นที่ เครือข่าย และความรู้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษียร เตชะพีระ (แปล). (2562). เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน. กทม.: สำนักพิมพ์คบไฟ
วิเชียร แท่นธรรมโรจน์. (2557). ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) กับการส่งออกกล้วยหอมของสหกรณ์การเกษตรไทย. กระทรวงต่างประเทศ
ผานิตดา ไสยรส. (2562). สวนเกษตรย้ายที่ อิทธิพลจีน กับผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเกษตรในภาคเหนือของไทย: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

Arias, P., Dankers, C., Liu, P.,and Pilkauskas, P. (2003). The World Banana Economy 1985-2002. Rome: Food
and Agriculture Organization of the United Nations (FAO).
Cohen, R. (2009). “Global Issues for Breakfast: the Banana Industry and its Problems”. In The Science Creative Quarterly,6 (12) https://www.scq.ubc.ca/global-issues-for-breakfast-the-banana-industry-and-its-problems-faq-cohen-mix/ (Accessed June 3, 2019)
Farquhar, I. (2012). Bananas in China: A Report. Banana Link UK and the Steering Committee of the World Banana Forum. http://www.bananalink.org.uk/china (Accessed 5 June 5, 2019)
Hamer, E. (2008). “Bananas: from Plantation to Plate”. In The Ecologist, September https://theecologist.org/2008/jun/02/bananas-plantation-plate (Accessed June 20, 2019)
Huang, Y. (2008). Capitalism with Chinese Characteristics: Entrepreneurship and the State. Cambridge University Press.
Kepner, C.D, and Soothill, J.H. 1935. The Banana Empire: A Case Study of Economic Imperialism. New York: The Vanguard Press.
McCracken. C. (1998). The Impacts of Banana Plantation Development in Central America. Costa Rica: Foro Emaus.
Welch, B. (1996). Survival by Association: Supply Management Landscapes of the Eastern Caribbean. Mona, Jamaica: University of the West Indies Press.
Wiley, J. (2008). The Banana: Empires, Trade Wars, and Globalization. Lincoln: University of Nebraska Press.
Worobetz, K. (2000). The Growth of the Banana Industry in Costa Rica and Its Effect on Biodiversity. Foro Emaus network, Costa Rica.
Santasombat. Y. (2019). “Rent Capitalism and Shifting Plantations in the Mekong Borderlands”. In Southeast Asian Affairs, 177-191. https://muse.jhu.edu. (Accessed June 9, 2019).