การประเมินทักษะและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการข้อมูลชุมชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาตูม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jiskku.2024.15คำสำคัญ:
แพลตฟอร์มดิจิทัลพร้อมใช้, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ข้อมูลจำเป็นพื้นฐาน, การบริหารจัดการข้อมูลดิจิทัลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระดับทักษะและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการข้อมูลสำคัญของชุมชนภายใต้องค์การบริหารส่วนตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
วิธีการศึกษา: ใช้วิธีการเชิงออกแบบนวัตกรรมด้วยการศึกษาแบบการมีส่วนร่วม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลเขาตูมและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ข้อค้นพบ: การประเมินการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลพร้อมใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลของชุมชนภายใต้องค์การบริหารส่วนตำบลเขาตูม มีอยู่สามระดับคือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้บริหารพบว่า ทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนและตัดสินใจ ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือการแสดงข้อมูล และทักษะการแปลผล วิเคราะห์ และสื่อสารอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.20, 3.73, 4.00 และ 4.07 ตามลำดับ กลุ่มที่ 2 กลุ่มบุคลากรพบว่า มีทักษะทั้งสี่ด้านสูง ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.20, 3.95, 3.75 และ 3.60 ตามลำดับ และกลุ่มที่ 3 อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน พบว่ามีทักษะในการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูง ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 3.95 และมีกรอบความคิดด้านจิตอาสาและการให้บริการสาธารณะ ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.20
การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะในมิติต่าง ๆ อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ โดยประชาชนได้รับการบริการที่ดีเยี่ยมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการใช้เข้าถึงสิทธิ์ขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ที่พึ่งได้รับ และเพิ่มความเชื่อมั่นต่อการพัฒนาและยกระดับพื้นที่บริการด้วยการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรที่มีความพร้อมด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และสามารถประยุกต์กับองค์การบริหารส่วนตำบล กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และประชาชนในพื้นที่ที่มีบทบาทในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาชุมชน
Downloads
References
Baum, F., MacDougall, C., & Smith, D. (2006). Participatory action research. Journal of Epidemiology & Community Health, 60(10), 854–857. https://doi.org/10.1136/jech.2004.028662
Boontrai, I. (2015). Quality of life of people living in semi-urban areas. (In Thai). Independent study of master degree in Economics, Graduate School, Chiang Mai University.
Chomeya, R. (2010). Quality of Psychology Test Between Likert Scale 5 and 6 Points. Journal of Social Sciences, 6(3), 399–403. https://doi.org/10.3844/jssp.2010.399.403
Department of Community Development, Ministry of Interior. (2016). Khumue kanchatkep khomun khwam champen phuenthan [Guide to storing basic necessities]. (In Thai). Retrieved from https://rdic.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/154/2017/07/bManualBook_BMN60.pdf
Digital Government Development Agency (Public Organization). (2022). Sue kanrianru naeothang kanhai borikan phakrat phan rabop dichithan [Learning media on how to provide government services through digital systems]. (In Thai). Retrieve from https://www.dga.or.th/document-sharing/dga-news/80190/
Jaitiang, T. (2020). Kanmi suanruam khong prachachon nai chumchon khet Phra Nakhon Krung Thep Maha Nakhon toa karn phatna thaksa yaowachon Thai 4.0 [Participation of citizens in Pranakorn area to Thai youth 4.0 skill development]. (In Thai). Retrieve from https://www.bpi.ac.th/upload/media/2022/05/4256628c4b407cac3.pdf
Kidd, C. (2023). Data platforms explained: features, benefits & getting started. Retrieve from https://www.splunk.com/en_us/blog/learn/data-platform.html
Murch, R. (2012). The software development lifecycle – a complete guide. Seattle, WA: Kindle Direct Publishing.
Phaetrungsee, P. (2013). Public participation in local development: case study of Tha Luang Sub-distric Municipality in Makham District Chanthaburi Province. (In Thai). Independent study of master degree in Local Government, Graduate School, Rambhai Barni Rajabhat University.
Phuangsamlee, A. and Artam, O. (1998). Kanphatthana tuachiwat khunnaphap chiwit lae sangkhom Thai [Development of indicators of quality of life and Thai society]. (In Thai). Bangkok: Thailand Research Fund.
Ponsen, K., Silawan, T., Pacheun, O., & Khansakorn, N. (2016). Kan rabu lae sangkhro panha sukkhaphap chumchon doi chai krabuankan rianru baep mi sowon ruam [Community health problems identification and synthesis through participatory learning process]. (In Thai). The Public Health Journal of Burapha University, 11(2), 22-32.
Suphantas, S. and Manunpichu, N. (1982). Prachakon kap khunnaphap chiwit [Population and quality of life]. (In Thai). Retrieved from https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/57429