The การพัฒนาระบบบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพอากาศโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับไลน์แอปพลิเคชัน
DOI:
https://doi.org/10.14456/jiskku.2024.11คำสำคัญ:
การบรรเทาสาธารณภัย, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, แอปพลิเคชันไลน์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภารกิจด้านการช่วยเหลือ และบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพอากาศ 2) เพื่อประยุกต์ใช้ระบบแอพพลิเคชันไลน์สำหรับการติดตาม สั่งการ รับ ส่ง ข้อมูล ด้านบรรเทาสาธารณภัย ระหว่างผู้ปฏิบัติงานส่วนกลาง และภาคสนาม 3) เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบสารสนเทศที่สนับสนุน และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานด้านบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพอากาศ
วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการพัฒนาระบบแบบ System Development Life Cycle Model (SDLC) ประกอบด้วย การวางแผนและวิเคราะห์ความต้องการ การออกแบบระบบ การพัฒนาและทดสอบระบบ รวมถึงมีการประเมินผลหลังการติดตั้งใช้งาน โดยมีผู้ทดลองใช้งานระบบเป็นกำลังพลของกองทัพอากาศที่มีความเกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 508 คน
ข้อค้นพบ: การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับระบบแอพพลิเคชันไลน์ เพื่อสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และผู้บังคับบัญชาส่วนกลาง สามารถช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการวิจัยนี้มีการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานในระบบอยู่ในระดับดี ซึ่งประเมินทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถของระบบตรงกับความต้องการ ด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบ ด้านการออกแบบที่ใช้งานง่าย และด้านความเสถียรของระบบ โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวมอยู่ที่ 4.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.24
การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภารกิจด้านการเฝ้าตรวจและลาดตระเวน หรือภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานได้
Downloads
References
Anchuen, P., Daungklang, P., & Wongkamchang, P. (2022). A comparative study of classifiers for Analyzing agricultural land use. (In Thai). NKRAFA Journal of Science and Technology, 18(2), 16–25.
Anucharn, T. (2021). Analysis of suitable areas for shelters and evacuation routes: a case study of the flood areas in Khlong Nathawi Subwatershed, Songkhla Province. (In Thai). Journal of Science and Technology Mahasarakham University, 39(2), 224-236.
Kamching, R., & Homhuan, S. (2020). Information system for supporting surveillance and warning of natural disasters, uttaradit province. (In Thai). Area Based Development Research Journal, 12(4), 272-288.
Line Developer. (2023). Messaging API overview. Retrieved from https://developers.line.biz/en/docs/messaging-api/overview/
NaRanong, A. (2019). Flood news consumption, warning systems, and flood management during flood crises outside the bangkok municipatory area. (In Thai). UMT POLY Journal, 16(2), 493-502.
nPerf. (2023). 3G / 4G / 5G coverage map, Thailand. Retrieved from https://www.nperf.com/th/map/TH/-/-/signal/
Pargaonkar, S. (2023). A comprehensive research analysis of software development life cycle (SDLC) agile & waterfall model advantages, disadvantages, and application suitability in software quality engineering. International Journal of Scientific and Research Publications, 13(8), 120–124. https://doi.org/10.29322/ijsrp.13.08.2023.p14015
Pechdee, S., & Utainarumol, S. (2021). Application of geographic information systems to transfer flood victims to temporary shelters. (In Thai). Proceeding National & International Conference, 1(12), 784-794.
Ruenphongphun, P. (2022). The development of computer labs reservation system via line official account for students of the faculty of management science in Rajabhat Rajanagarindra University. (In Thai). Journal of Management Science Review, 24(2), 75–85.
Sathidbhattarasombad, C., & Daungklang, P. (2021). Geo-informatics and communications via cellular networks in aircraft tracking for search and rescue: an application. (In Thai). NKRAFA Journal of Science and Technology, 17(1), 60–70.
Sornin, K. (2018). The increasing efficiency for POS system in the coffee shop business with LINE chat bot. (In Thai). CRMA Journal, 16(1), 25–40.
Sutharak, S., & Daungklang, P. (2022). Geographic information system-based integrated imagery sensing system for military operations. (In Thai). NKRAFA Journal of Science and Technology, 18(1), 26-37.