ภาพสะท้อนสังคมไทยตามแนวชีวิตวิถีใหม่ในเรื่องสั้นไทยร่วมสมัย

Main Article Content

รองศาสตราจารย์ ดร.สายวรุณ สุนทโรทก

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องภาพสะท้อนสังคมไทยตามแนวชีวิตวิถีใหม่ในเรื่องสั้นไทยร่วมสมัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสังคมไทยในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ปรากฏในเรื่องสั้นคัดสรรโครงการ     “โควิดเปลี่ยนเรา เรื่องเล่าเปลี่ยนโลก” จำนวน 112 เรื่อง ซึ่งประพันธ์ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พ.ศ.2563 และวิเคราะห์ทัศนคติของนักเขียนที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของชีวิตวิถีใหม่ในเรื่องสั้น


ผลการวิจัยพบว่าเรื่องสั้นนำเสนอภาพสะท้อนสังคมแนวชีวิตวิถีใหม่ ดังนี้ 1. การใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ในการทำงานทางไกลหรือทำงานที่บ้าน รวมทั้งการซื้อของออนไลน์ การทำธุรกรรมและเสพความบันเทิง 2. การเน้นเรื่องระยะห่างทางสังคม ที่ต้องรักษาความสะอาดมากขึ้น 3.การติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด 4. การดิ้นรนเพื่อสร้างความสมดุลในชีวิตประจำวัน ทั้งการทำงานกับชีวิตส่วนตัว รวมถึงการรับมือกับความเครียดและการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ จากเรื่องสั้นคัดสรร นักเขียนนำเสนอแนวคิดดังนี้ 1.แนวคิดด้านการปรับสมดุลของชีวิต 2.แนวคิดด้านการศึกษาในแบบชีวิตวิถีใหม่ 3.แนวคิดด้านการทำมาหากินโดยเฉพาะในสังคมสูงวัย 4.แนวคิดด้านเศรษฐกิจและการทำธุรกรรมทางการเงิน และ 5.แนวคิดด้านนันทนาการและการสัมผัสธรรมชาติ


จากการวิจัยนี้สรุปว่า การเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นศิลปะที่แสดงออกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม ซึ่งผู้เขียนสร้างสรรค์ชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีและกฏเกณฑ์ในช่วงเวลาที่ไวรัสระบาดเชื่อมโยงกับจินตนาการ ทัศนคติและอารมณ์ความรู้สึก การเป็นนักเขียนได้เปรียบกว่าอาชีพอื่นคือการมีจินตนาการและทัศนคติเชิงบวกช่วยให้ดำรงชีพอย่างมีความสุขมากกว่าอาชีพอื่น อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด จึงเดือดร้อนไม่มากเท่าคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ แต่นักเขียนก็เรียกร้องให้รัฐบาลดูแลและเสนอว่าน่าจะมีการขึ้นทะเบียนให้เป็นนักเขียนอาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

รองศาสตราจารย์ ดร.สายวรุณ สุนทโรทก, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

References

กนกวรรณ สุทธิพร. (2553, 15 พฤศจิกายน). วิธีวิทยาเรื่องเล่า (Narrative Method). Tha Prachan Interdisciplinary Review. https://tpir53.blogspot.com/2010/11/blog-post_15.html

กรุงเทพธุรกิจ. (2563, 31 กรกฎาคม). โควิด-19 ผลักเด็กยากจนหลุดระบบ แนะรัฐลดค่าใช้จ่าย-เพิ่มอาชีพ.

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/891672.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2523). นวนิยายกับสังคมไทย พ.ศ. 2475-2500. กรุงเทพฯ: ศึกษิตสยาม.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2563). วรรณกรรมโควิด เปลี่ยนโรคให้เป็นเรื่อง: สู้โควิด แปรวิกฤตเป็นโอกาส. กรุงเทพ ฯ: สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ฯ.

เถกิง พันธุ์เถกิงอมร. (2541). นวนิยายและเรื่องสั้น การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา.

บีบีซี. (2563, 25 มีนาคม). ไวรัสโคโรนา: รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศ 26 มี.ค.-30 เม.ย. สกัดโควิด-19 ยังไม่สั่ง “ปิดประเทศ-ปิดเมือง-ปิดบ้าน”. https://www.bbc.com/thai/thailand-52030713.

พีพีทีวี ออนไลน์. (2563, 10 พฤษภาคม). "ตู้ปันสุข"พื้นที่ปันน้ำใจ จากผู้ให้สู่ผู้รับ. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/125128.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2563, 5 พฤษภาคม). โควิดเปลี่ยนเรา เรื่องเล่าเปลี่ยนโลก.

https://www.ocac.go.th/news/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80/.

ไพโรจน์ บุญประกอบ. (2539). การเขียนสร้างสรรค์: เรื่องสั้น-นวนิยาย. กรุงเทพ ฯ: ดอกหญ้า.

เจตนา นาควัชระ. (2545). การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย: รายงานผลการวิจัยเล่มที่ 1 บทสังเคราะห์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:85167