การยอมรับของผู้บริโภคชาวไทยต่อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเครื่องหมายฉลากเขียว

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรางคนา ณ นคร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อกระบวนการยอมรับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเครื่องหมายฉลากเขียวของผู้บริโภคในประเทศไทย และ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการยอมรับผลิตภัณฑ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สีเขียว ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยสำรวจกับผู้บริโภคชาวไทย 400 คนทั่วประเทศ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC = 0.79) และค่าความเชื่อมั่น ที่มีค่าครอนบัคแอลฟ่า อยู่ระหว่าง 0.87- 0.91 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่า t–test, F–test และทดสอบต่อด้วย LSD เมื่อพบความแตกต่าง ผลการศึกษาพบว่า (1) ความคิดเห็นต่อกระบวนการยอมรับผลิตภัณฑ์ เป็นดังนี้ 1) ขั้นรู้จัก ผู้บริโภครู้จักผลิตภัณฑ์ระดับปานกลาง 2) ขั้นให้ความสนใจ ผู้บริโภคให้ความสนใจมาก 3) ขั้นประเมิน มีการประเมินมาก 4) ขั้นทดลองใช้ มีการทดลองใช้มาก และ 5) ขั้นยอมรับ ผู้บริโภคยอมรับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการยอมรับผลิตภัณฑ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สีเขียว เป็นดังนี้ 1) ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นในขั้นรู้จักต่างกัน โดยเพศชายรู้จักผลิตภัณฑ์สีเขียวมากกว่าเพศหญิง ผู้ที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นขั้นยอมรับต่างกัน กลุ่มที่มีอายุ 46 ปีขึ้นไป ยอมรับมากกว่ากลุ่มที่มีอายุ 26-35 ปี 2) ผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สีเขียวต่างกัน มีความคิดเห็นต่อกระบวนการยอมรับในขั้นการรู้จัก ขั้นให้ความสนใจและขั้นยอมรับต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กลุ่มที่มีพฤติกรรมสีเขียวตามสะดวก รู้จักและยอมรับผลิตภัณฑ์สีเขียวน้อยกว่ากลุ่มเขียวแท้และเขียวตามกระแส ดังนั้น องค์กรผู้ผลิตควรให้ความรู้ความเข้าใจผ่านพนักงานขายและสื่อสังคมออนไลน์ตลอดจนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าสีเขียวระดับประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรางคนา ณ นคร , คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า, วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

 

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2566). แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570). https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2023/02/pcdnew-2023-02-20_06-35-59_190336.pdf

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2561). รายงานผลการวิเคราะห์การสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโครงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. http://www.oic.go.th

ชุติมา มุสิกะเจริญ. (2565). ศูนย์วิจัยกสิกรฯ เผยผลสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค ต่อปัญหาด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการลงทุนด้าน ESG. สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย. https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref

ธนาคารกรุงเทพ. (2022). แม้ราคาสูงขึ้นก็ยอม เจาะลึกพฤติกรรม ‘ผู้บริโภค’ พร้อมจ่ายเพื่อสินค้ารักษ์โลก SME ปรับตัวอย่างไรไม่ตกเทรนด์. https://www.bangkokbanksme.com/en/expensive-and-willing-to-pay-for-environmentally-friendly-products

ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ. (2564). พลังของคนรุ่นใหม่กับการขับเคลื่อนสู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน. สัมมนาออนไลน์. https://teams.live.com/meet/95725915160323

นิสากรณ์ แสงประชุม. (2564). รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อหยุดส่งต่อมรดกมลพิษ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). https://www.scimath.org/article-science/item/12411-2021-08-23-05-59-36

ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม. (2010). เครื่องมือสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(73), 169-184. https://so05.tcithaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/246116

พสิสฐ์ ทองมิตร. (2563). แนวทางการพัฒนาฉลากเขียวของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยราชสีมา ครั้งที่ 7, 11(1). 369-378. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2563Vol11No1_40.pdf

ลัณฉกร ประทุมรัตน์. (2555). ฉลากเขียว ฉลากสิ่งแวดล้อมของไทย. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย. http://www.chemtrack.org/NewsDetail.asp?TID=7&ID=719

วิจารย์ สิมาฉายา. (2566). จับตาสิ่งแวดล้อมโลกและสิ่งแวดล้อมไทย ปี 2566. สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. https://www.tei.or.th/th/article_detail.php?bid=119

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). Voice of Green: เพื่อโลก เพื่อเรา. E-book สัมมนาการตลาดโลกสวย. http://bit.ly/2QI6kOl

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). ผลสำรวจพฤติกรรมและมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อปัญหาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และแนวโน้มความสนใจลงทุนด้าน ESG. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/ESG-consumer-z3337.aspx

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2564). คู่มือแนะนำฉลากเขียว. http://www.tei.or.th/file/library/book-Greenlabel_40.pdf

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 (ฉบับย่อ). https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

Cheung, R., Lam, A.Y.C., & Mei, M. L. (2015). Drivers of green product adoption: the role of green perceived value, green trust and perceived quality. Journal of Global Scholars of Marketing Science, 25(3). 232-245. https://doi.org/10.1080/21639159.2015.1041781

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons Inc.

Muangtum, N. (2020). Voice of Green การตลาดโลกสวย เทรนด์รักษ์โลก 2020 จาก CMMU. https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/voice-of-green-marketing-cmmu-eco-trend-2020/.

Nath, V., Kumar, R., Agrawal, R., Gautam, A. & Sharma, V. (2013). Consumer Adoption of Green Products: Modeling the Enablers. Global Business Review, 14(3). 453–470. https://doi.org/10.1177/0972150913496864

Nittala, R. & Moturu, V. R. (2023). Role of pro-environmental post-purchase behaviour in green consumer behavior. Vilakshan - XIMB Journal of Management, 20(1), 82-97. https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/XJM- 03-2021-0074/full/html

Riserbato, R. (2021, November 26). What is Customer Adoption & How Can You Increase Your Customer Adoption Rate. Hubspot. https://blog. hubspot.com/service/customer-adoption

Sewwandi, J. P. N. & Dinesha, P. K. C. (2022). The impact of green marketing tools on green product purchase behavior: the moderation effect of consumer demographics. Asian Journal of Marketing Management (AJMM), 01(01), 89-114. https://doi.org/10.31357/ajmm.v1i01.5469