ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ลลิตา ขุนเทา
สุธาสินี สุขะอาคม
ณัฏฐนันท์ ชยันต์โสงขุนทด
ดร.นลินี เหมาะประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมนของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีประสบการณ์การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมน และมีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติได้แก่ ด้านพฤติกรรม ด้านความรู้สึก และด้านความเข้าใจ มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยปัจจัยด้านทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมน ได้แก่ ด้านพฤติกรรม (β = 0.356) ด้านความรู้สึก (β = 0.258)  และด้านความเข้าใจ (β =0.141) โดยด้านพฤติกรรม พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามพูดถึงการบริการของแอปพลิเคชั่นไลน์แมนไปในทิศทางที่ดี มักสั่งอาหารในช่วงที่มีการจัดโปรโมชั่น และใช้บริการแอปพลิเคชั่นไลน์แมนทุกครั้งที่มีการสั่งอาหาร ส่วนด้านความรู้สึก ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับการดูผลลัพธ์ของการสั่งอาหาร และการคำนวณค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารได้อย่างรวดเร็ว แอปพลิชั่นไลน์แมนใช้สีสันตัวอักษร กราฟิกที่สวยงาม อ่านง่าย และในด้านความเข้าใจให้ความสำคัญกับการชำระเงินได้หลากหลายวิธี การประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปซื้ออาหาร และใช้งานง่าย

Article Details

How to Cite
ขุนเทา ล., สุขะอาคม ส., ชยันต์โสงขุนทด ณ., & เหมาะประสิทธิ์ น. (2023). ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(1), 285–314. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/264858
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ดร.นลินี เหมาะประสิทธิ์, คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

 

References

กิติมาพร ชูโชต, พัฒนพงษ์ ฮวดค่วน, ชนาภัทร หนอนไม้ และ กันตพงศ์ ค้าไกล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 7(1), 50-76.

ชวกร อมรนิมิต. (2559). การตลาดตามรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีพลต่อการตัดสินใจใช้ธุรกิจเดลิเวอรี่อาหารแบบบริการถึงบ้านของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชาริณี ลิ้มอิ่ม. (2561). พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมนในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). ตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภัสวรรณ ไพรไพศาลกิจ.(2560). ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันสําหรับการรับส่งอาหารและบริการจัดส่ง ของกลุ่มเจนเรชั่นวาย. (การค้นคว้าอิสระปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พีระนัฐ โล่วันทา. (2564). การตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วัชรีย์ แสงตุ๊. (2563). ปัจจัยในการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์แมน ของพนักงานในอาคารฟอรั่ม. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรานนท์ โตบุญมา และณัฐวัฒน์ กุณาหล่าย. (2562). พฤติกรรมการใช้บริการ Food delivery. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์บัณฑิต). พิษณุโลก: คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564, 23 ธันวาคม). Food Delivery ปี 65 คาดโตต่อที่ 4.5% ผู้ให้บริการรุกขยายพื้นที่สร้างฐานลูกค้าใหม่. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน). https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Food-Delivery-FB-23-12-21.aspx

สุฐิตา แก้วจรัส. (2563). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ Food Delivery ผ่าน LINE MAN ในจังหวัดสมุทรสาคร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Hair J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E. & Tatham, R.L. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall.

MarketingOops. (2562, 5 มกราคม). เบื้องหลัง “LINE MAN” โต 300% ผู้ใช้ 1.5 ล้านคน/เดือน-เผยบริการเหนือคาด “จองโต๊ะผับ-ลงทะเบียนเรียน”.

Marketing Oops Online Magazine. https://www.marketingoops.com/news/biz-news/lineman-key-success-factors/