การสำรวจความต้องการของนักเดินทางกลุ่มไมซ์ชาวไทย และความคิดเห็นด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการต่อกิจกรรมไมซ์โดยชุมชน

Main Article Content

ดร.อาทิตยา ปาทาน
ดร.ศรัญญา ศรีทอง
ดร.ชัชชญา ยอดสุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีเป้าหมายในการสำรวจความคิดเห็นของนักเดินทางกลุ่มไมซ์ต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาความต้องการของนักเดินทางกลุ่มไมซ์ที่มีต่อกิจกรรมไมซ์โดยชุมชน และ 2) สำรวจความคิดเห็นของนักเดินทางกลุ่มไมซ์ที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของกิจกรรมไมซ์โดยชุมชน การดำเนินวิจัยแบบผสานวิธีโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเดินทางกลุ่มไมซ์ชาวไทย จำนวน 318 คน การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างเดิมที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติค่าที (t–test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเดินทางกลุ่มไมซ์ชาวไทยมีความต้องการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์โดยชุมชนมากที่สุด และมีความต้องการกิจกรรมหรูหราในระดับน้อยที่สุด 2) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ และประเภทขององค์กร มีความต้องการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ เพศหญิงมีความต้องการด้านกิจกรรมเชิงอาหารและกิจกรรมเชิงสุขภาพมากกว่าเพศชาย ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 31 ปี มีความต้องการด้านกิจกรรมผจญภัยมากกว่า ผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี มีความต้องการด้านกิจกรรมเชิงสุขภาพมากกว่า และหน่วยงานภาครัฐมีความต้องการด้านกิจกรรมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และกิจกรรมผจญภัยมากกว่าหน่วยงานภาคเอกชน 3) ในขณะที่ ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลต่อส่วนประสมทางการตลาดการบริการกิจกรรมไมซ์โดยชุมชนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

How to Cite
ปาทาน อ., ศรีทอง ศ., & ยอดสุวรรณ ช. (2022). การสำรวจความต้องการของนักเดินทางกลุ่มไมซ์ชาวไทย และความคิดเห็นด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการต่อกิจกรรมไมซ์โดยชุมชน. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 230–275. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/257724
บท
บทความวิจัย

References

ชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2562). การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถอุตสาหกรรมการจัดประชุมองค์กรและประชุมวิชาชีพของจังหวัดเชียงราย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). https://elibrary.trf.or.th/fullP/RDG60T0032/RDG60T0032V01/RDG60T0032V01_full.pdf

ณัฐกานต์ รัตนพันธุ์, พัชราภรณ์ บุญเลื่อง, และอรทัย พงศ์เชี่ยวบุญ. (2560). สงขลาเมืองแห่งไมซ์ เพื่อรองรับกลุ่มการท่องเที่ยว IMT-GT. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(1), 66-78. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kkbsjournal/article/view/161202

นิมิต ซุ้นสั้น. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานที่จัดงานประชุม ในบริบทห้องประชุมโรงแรม: มุมมองผู้จัดงาน. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 13(2), 67-78. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/241487

ปัญญาฤทธิ์ ทองกลิ่น. (2562). การศึกษาพฤติกรรมของนักเดินทางไมซ์ และระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กรณีศึกษา งานแสดงสินค้า Summer Bitter Sweet 2018 [สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13094

เพชรา บุดสีทา. (2556). การจัดการทางการตลาดการท่องเที่ยวชุมชนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 16(1), 44-59. https://so05.tci-haijo.org/index.php/tgt/article/view/8001

เพ็ญนภา เพ็งประไพ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติในกิจกรรม การท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรมของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี [การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรรมการบริการและการท่องเที่ยว]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/ 2038/1/pennapa_peng.pdf

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). การสร้างเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ศิวธิดา ภูมิวรมุนี, และอลิศรา ธรรมบุตร. (2564). ปัจจัยส่วนประสมด้านการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านช้าง ตำบล กระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์, วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 226-240. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/ 253590

สุธิรา ปานแก้ว. (2558). แนวทางการจัดการตลาดอุตสาหกรรมไมซ์ของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว]. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/10168/ 1/404567.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560, 2 กุมภาพันธ์). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid= 6420&filename=develop_issue

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2559). Introduction to MICE Industry. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2560). อุตสาหกรรมไมซ์ ในภูมิภาคเอเชีย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2561). MICE ไม่ได้แปลว่าหนู. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2562ก). โครงการศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ภายในประเทศ (7 รูปแบบกิจกรรมไมซ์). https://elibrary.tceb.or.th/

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2562ข). คู่มืออบรมบริษัทรับจัดการธุรกิจไมซ์ภายในประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2563). รายงานสถิติอุตสาหกรรมไมซ์ ประจำปีงบประมาณ 2563. https://elibrary.tceb.or.th/

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2564ก). คู่มือไมซ์เพื่อชุมชน. https://www.businesseventsthailand.com/th

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2564ข). รายงานผลการดำเนินงานครึ่งปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 ถึง มีนาคม 2564). https://www.businesseventsthailand.com/uploads /press_media/file/210603-file-WcjJ3BfOw. pdf

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2564ค). ไมซ์เพื่อชุมชน-ชวนชาวไมซ์ส่งเสริมชุมชนทั่วไทย. https://elibrary.tceb.or.th/th/Publication/MICE-for Community/6215?aliaspath=%2FPublication%2FMICEfor-Community%2F6215

อนันต์ สุนทราเมธกุล, เจริญ โสภา, และภีม พรประเสริฐ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 9(1), 3-17. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ tourismtaat/article/view/19773

อัศวิน แสงพิกุล. (2562). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีรัตน์ ไชยช่อฟ้า. (2558). ความพร้อมทางการตลาดสำหรับธุรกิจการจัดประชุม เพื่อรองรับ AEC ของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/9876/ 1/394889%20.pdf

อารััญ บุุญชััย. (2565). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. ปีที่ 3. ฉบับที่ 1/2565. https://www.mots.go.th/images/v2022_1655221882491djIwMjJfMTY1NTIwMTMzOTMyNeC4o+C4suC4ouC4h+C4suC4meC4oOC4suC4p+C4sOC5gOC4qOC4o+C4qeC4kOC4geC4tOC4iOC4geC4suC4o+C4l+C5iOC4reC4h+C5gOC4l+C4teC5iOC4ouC4pyDguJvguLXguJfguLXguYggMyDguInguJrguLHguJrguJfguLXguYggMS0yNTY1LnBkZg==.pdf

Alananzeh, O., Badarneh, M. A., Mkhadmeh, A. A., & Jawabreh, O. (2019). Factors influencing MICE tourism stakeholders' decision making: The case of Aqaba in Jordan. Journal of Convention & Event Tourism, 20(1), 24-43.

Alananzeh, O., Maaiah, B., Al-Badarneh, M., & Al-Shorman, A. (2017). The geographic distribution of conferences in Jordan from 2014 to 2016 using predictive GIS modeling. Journal of Convention & Event Tourism, 19(2), 167–185.

Alananzeh, O., Mkhadmeh, A. A., Shatnawi, H. S., & Masadeh, R. (2022). Event as a tool for community involvement and sustainable regional development: The mediating role of motivation on community attitudes. Journal of Convention & Event Tourism, 23(4), 297-317.

Booms, B. H., & Bitner, M. J. (1981). “Marketing strategies and organization structures for service firms”. In J.H. Donnelly & W.R. George (Eds), Marketing of services (pp. 47 – 51). American Marketing Association. Chicago, IL.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychological testing. (3rd ed). New York: Harper & Row.

Crouch, G. I., & Ritchie, J. R. B. (1998). Convention site selection research: A review, conceptual model, and propositional framework. Journal of Convention and Exhibition Management, 1(1), 49-69.

Davidson, R. (1994). Business Travel. London: Addison Wesley Longman.

Hoonakker, P. L. T., & Carayon, P. (2009). Questionnaire survey nonresponse: A comparison of postal mail and Internet surveys. International Journal of Human Computer Interaction (IJHJI), 25(5), 348-373.

Kline, R. B. (2015). Principles and practice of structural equation modeling (4th ed.). New York: Guildford Press.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Linderman, R. H., Merenda, P. F., & Gold, R. Z. (1980). Introduction to bivariate and multivariate analysis. Glenview, IL.: Scott, Foresman.

Lovelock, C., Wirtz, J., & Chew, P. (2011). Essentials of services marketing. Singapore: Prentice Hall.

Mitchell, R. E., & Reid, D. G. (2001). Community integration: Island tourism in Peru. Annals of Tourism Research, 28(1), 113–139.

Mykhailichenko, H., Kravtsov, S., & Zabaldina, Y. (2020). Planning of event portfolio for tourism destination in post-quarantine period. Herald of Kyiv National University of Trade and Economics, 130(2), 36-47. http://dx.doi.org/ 10.31617/visnik.knute.2020(130)03

Pawaskar, P., & Goel, M. (2014). A Conceptual Model: Multisensory marketing and destination branding. Procedia Economics and Finance, 11, 255–267.

Swarbrooke, J., & Horner, S. (2001). Business travel and tourism. Oxford: Butterworth-Hienemann.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.