การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านดนตรีพื้นบ้านนครสวรรค์

Main Article Content

ภิญโญ ภู่เทศ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้านนครสวรรค์ และ 2)  เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้านนครสวรรค์  โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและใช้วิธีวิจัยทางด้านมานุษยดนตรีวิทยา เป็นแนวทางในการศึกษา  กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน โดยการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านด้านดนตรีพื้นบ้านนครสวรรค์  และสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน และนักเรียน ผลการศึกษาพบว่า พบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้านนครสวรรค์ที่ยังคงปรากฏอยู่และยังมีการสืบทอดกันต่อมา ได้แก่  กลองยาว  และเพลงพื้นบ้าน ซึ่งลักษณะของเพลงเป็นเพลงที่มีเนื้อความในการร้องไม่ยาวนัก  เป็นการร้องโต้ตอบกันโดยไม่มีการผูกเรื่องราว  สามารถจำความในการร้องได้ง่าย  เนื้อเพลงเป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนสมัยนั้น ๆ 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้าน  ต้องออกแบบและวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลหรือสารสนเทศและหลักการความคิดรวบยอด  ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์ชีวิตจริงได้  อีกทั้งเป็นการรักษามรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้านให้คงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและเหมาะสม

Article Details

How to Cite
ภู่เทศ ภ. (2023). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านดนตรีพื้นบ้านนครสวรรค์. มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 21(1), 105–121. https://doi.org/10.14456/jhusoc.2023.6
บท
บทความวิจัย

References

Charoensil, T. (2016). Education reform and entrance 4.0. (Online). http:www.chiangmainews.co.th/ page/archives/25402074.

Hansopa, R., Subhakicco, S., Chusorn, P., Sonsuwan, S., & Bunsane, M. (2020). Learning management in 21st century: Theory toward Implemention. Dhammathas Academic Journal, 20(2), 163. [in Thai]

Langkarpint, K. (2017). The right to healthy environment in constitution of Thailand: Comparing law with foreign contries. Naresuan University Law Journal, 10(1), 47. [in Thai]

Office of Education Council. (2017). National education plan (2017-2036). Bangkok: Plickwhan grapfic. [in Thai]

Phongphit, S. (2008). Concepts, practices, strategies for local development. Bangkok: palangpunya. [in Thai]

Saengthong, S. (2014). Concept, cultural diversity to create works of art and culture (Hanouts). Songkhla: Songkhla Rajabhat University. [in Thai]

Visit unofficially. (1996). Program of the performance of the Lord Buddha Nakhon Sawan early access. Nakhon Sawan: Charoendee Printing. [in Thai]

Yodwised, J. (2015). Thapho’s folksong: The reflection of Thai life. Acadamid Journal Bangkokthonburi University, 4(1), 9. [in Thai]