การพัฒนาทักษะภาษาจีนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านการลงมือปฏิบัติการเขียนโครงสร้างไวยากรณ์ 存现句 ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

Main Article Content

อดิเรก นวลศรี
ฐิติมา พันฟัก
เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ
Heng Wang

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ โดยใช้การปฏิบัติการเขียนโครงสร้างไวยากรณ์ที่กำหนด เพื่อพัฒนาทักษะภาษาจีนของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผ่านการลงมือปฏิบัติการเขียนโครงสร้างไวยากรณ์ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผ่านการลงมือปฏิบัติการเขียนโครงสร้างไวยากรณ์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อ  การเรียนรู้การลงมือปฏิบัติการเขียนโครงสร้างไวยากรณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกประเด็น 2) ทักษะภาษาจีนของผู้เรียนภายหลังสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คุณลักษณะของผู้เรียนที่ผ่านการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติการเขียนโครงสร้างไวยากรณ์ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในทุกประเด็นการประเมินได้แก่ ด้านความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ผู้สอนกำหนด การสร้างความสนใจในการเรียนรู้ รูปแบบกิจกรรมมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะภาษาจีน กิจกรรมที่ผู้สอนกำหนดช่วยเสริมสร้างความมุ่งมั่นใน     การเรียนให้แก่ผู้เรียน และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจต่อประเด็น กิจกรรมที่ผู้สอนกำหนดช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะการมีวินัยให้แก่ผู้เรียน และกิจกรรมที่ผู้สอนกำหนดช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะการใฝ่เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2010). The development and evaluation the desirable characteristics based on the basic education Core Curriculum B.E. 2551. Ministry of Education.http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_files/curriculum51_assess.pdf [in Thai]

Chaiyasaree, P. (2021). Learning by doing. https://mcpswis.mcp.ac.th/html _edu/cgi-bin/main_php/print_informed.php?id_count_inform=20871[in Thai]

Dhiravegin, L. (2006). The role of China and Chinese language in the current century.https://mgronline.com/daily/detail/9490000074640

Hanphicai, S. (2019). Development of learning achievement in local education course using learning by doing. Lawarath Social E-Journal, 3(1), 51 - 63. [in Thai]

Kaewkrajang, W. (2014). The writing ability enhancement by using the conceptual plot. The Research Fund Service report of the 2557 B.E. fiscal year. Silpakorn Educational Research Journal, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. [in Thai]

Promsorn, N. (2014). Systematic effective learning management. https://www. gotoknow.org/posts/486382 [in Thai]

‪ Saepun, W. (2017). A study of circumstances and problems on Chinese language teaching and learning in a secondary school, Yala Province. Journal of Yala Rajabhat University, 12(Special Issue), 126 - 136. [in Thai]‬‬

Sruangto, D. Somwong, P., & Pornsin, S. (2019). Learning activity management on the relationship between two-dimensional and three-dimensional geometric figures by using learning by doing activities for Mathayomsuksa I Students. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 2(13), 191 - 197. [in Thai]

Viraneteekul, C. (2016). How to learning by doing (Active Learning) to improve the quality of education in Thailand. http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/ doc_pr/ndc_2560- 2561/PDF/8364e/8364นายฉัตรชัย%20วีระเมธีกุล.pdf