การสื่อความหมายในคำขวัญโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อความหมายในคำขวัญโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ด้วยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระหว่างปี พ.ศ. 2528 - 2564 จำนวน 34 คำขวัญ โดยใช้แนวคิดทางวัจนกรรมของ John R. Searle และแนวคิดเรื่องค่านิยมในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า คำขวัญโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีการสื่อความหมาย 4 ลักษณะ ได้แก่ “ความภาคภูมิใจในความเป็นไทย” “การท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นการช่วยประเทศชาติ” “การเป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพ” และ“การท่องเที่ยวทำให้ชีวิตมีความสุข” โดยสื่อความหมายผ่านวัจนกรรม 4 กลุ่มวัจนกรรม ได้แก่ วัจนกรรมบอกกล่าว (การให้เหตุผล และการเปรียบเทียบ) วัจนกรรมกลุ่มชี้นำ (การเชิญชวนการท้าทาย การอ้างถึง และการเตือน) วัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก (การชื่นชม) และวัจนกรรมกลุ่มแถลงการณ์ (การประกาศชื่อ) ซึ่งเป็นการสื่อความหมายแบบตรงมากกว่าแบบอ้อม และมีการสื่อความหมายผ่านค่านิยม 2 ค่านิยมหลัก ได้แก่ ค่านิยมระดับปัจเจกบุคคล และค่านิยมระดับสังคม (ค่านิยมด้านความเป็นชาติ ค่านิยมด้านการพลเมือง)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Jatuporn, C. (2021). The relationship between tourism and economic growth in Thailand, [Master’s thesis]. Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]
Nilsonthi, C., & Namwong, S. (2018). Motivation factors on wellness tourism influencing tourist satisfaction of spiritual retreat visitors. Dusit Thani College Journal, 12(2), 384-403. [in Thai]
Phuengchangam, E. (2011). Speech acts and language strategies used in electioneering posters of the election in 2011, [Master’s thesis]. Bangkok: Silpakorn University. [in Thai]
Prajongkarn, W., & Chunanantatham, S. (2021). Tourism at a crossroad. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Aug2021.aspx
Sing-in, K. (2017). Communication policy of the TAT and the adjustment of communities in Phang Nga and Trang provinces, [Master’s thesis]. Thammasat University. [in Thai]
Thiengburanathum, W. (1998). Dictionary English-Thai. Bangkok: Se-education. [in Thai]
Wongmontha, S. (1997). Practical advertising. Bangkok: Dungkamonsamia. [in Thai]