การพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นแห้ว เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชนตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นแห้ว เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ประกอบอาชีพจักสานต่อผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นแห้วเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ กลุ่มผู้อาวุโสที่ประกอบอาชีพจักสาน จำนวน 5 คน และผู้ประกอบอาชีพจักสาน จำนวน 20 คน โดยสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีฝนและอากาศชุ่มชื้น เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม รวมทั้งตำบลวังยางมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวและมีกิจกรรมเกิดขึ้นในชุมชนได้ คือ การทำนาแห้วครบวงจร โดยนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเรียนรู้กิจกรรมจากประสบการณ์ตรง สามารถลงมือปฏิบัติเพื่อสัมผัสประสบการณ์จริงในนาแห้ว นอกจากนี้ชุมชนยังมีการจัดการความรู้และพัฒนาชุมชนด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการจักสานรูปแบบชะลอมสำหรับให้นักท่องเที่ยว เพื่อใช้ในกิจกรรมการเก็บเกี่ยวแห้วเป็นของฝาก โดยมาจากการรวมกลุ่มกันในชุมชนที่มีการผลิตใช้เองในครัวเรือนอยู่แล้ว 2) การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นแห้ว มีจำนวน 4 รูปแบบ คือ ชะลอมจุก ชะลอมหูหิ้ว ชะลอมหูหิ้วทรงรี และเข่งชะลอมกลม และ 3) ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นแห้ว ด้านผลิตภัณฑ์จักสาน และด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว พบว่า ผู้ประกอบอาชีพจักสาน มีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นแห้ว โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Chandhasa, R. (2010). This research on the handicraft product made of vetiver. Bankok: Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai]
Community Enterprise Promotion Division. (2014). Community enterprise. http://www.sceb.doae.go.th/ [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Council. (2020). Summary the twelfth national economic and social development plan (2017-2021). https://www.nesdc.go.th/ [in Thai]
Raknui, N. (2006). A study of basketry in Changwat Suphanburi: A case study of Pho Sri village group, Tambol Bang Pla Ma, Amphoe Bang Pla Ma, Changwat Supan Buri, [Master’s thesis]. Bankok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
Sangchan, N. (2012). The lighting series from Lkum-Kla design for living room, [Master’s thesis]. Bankok: Silpakorn University. [in Thai]
Suksikarn, R., Suksikarn, J., Chuaykrod, M. (2011). The development on shadow puppet carving handicraft by participatory action research: A Case Study of Shadow Puppet Leather Carvin. Silpakorn University Journal, 31(2), 69-82. [in Thai]
Suphan.biz. (2020). Water Chestnuts Field Suphanburi. http://www.suphan.biz/ waternut.htm [in Thai]
Tourism Authority of Thailand. (2017). The second national tourism development plan (2017 - 2021). Bangkok: PW Printing Co., Ltd [in Thai]
Wikipedia. (2020). Wicker. https://th.wikipedia.org/wiki/ [in Thai]