ความต้องการพัฒนาตนเองของครูดนตรี ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

วรรณะ ศาลางาม
ธิติ ปัญญาอินทร์
ธนพล ตีรชาติ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของครูดนตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาดนตรี ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ครูดนตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ มีความต้องการพัฒนาตนเองของครูดนตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.29 แบ่งได้ 2 ด้าน ดังนี้ 1. ความต้องการพัฒนาตนเองด้านดนตรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.30 โดยด้านการประพันธ์และการด้นสด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.36  และด้านทักษะการฟังและการวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  เท่ากับ 4.25 2. ความต้องการพัฒนาตนเองด้านการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากมี ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.28 โดยด้านการวัดประเมินผลดนตรี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.34 และด้านหลักสูตรดนตรี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 4.22

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chiranuwat, C. (2011). Needs for self-development of music teachers to professional teachers, a case study. Secondary music teacher, Satun Province. Master of Arts Thesis (Music field) Bangkok: Mahidol University. [in Thai]

Kanawat, P. (2014). Needs for self-development of school music teachers under the office. Educational Area Nakhon Pathom district 2. Master of Arts Thesis (Music field) Bangkok: Bansomdejchaopraya Rajabhat University. [in Thai]

Narut, S. (2001). Behavior of music teaching (3rded). Bangkok: Faculty Education, Publishing House of Chulalongkorn University. [in Thai]

Narut, S. (2012). Music education: Principles and themes (9thed). Bangkok: Faculty of Education. Publisher of Chulalongkorn University. [in Thai]

Office of the Secondary Educational Service Area 32. (2019). Fiscal year action plan 2019. Buriram: Office of the Secondary Educational Service Area 32. [in Thai]

Pakawan, S. (2009). A study of self-development needs of primary teachers at Phai Thit School. Higher Education. Master of Education Thesis, Maha Vatiyalaya Business Administration. [in Thai]

Santi, Y. (2013). A study of the teaching condition of music in the basic education curriculum level 3 of the school under the office Suratthani Educational Service Area, Area 3. Master of Arts Thesis (Music studies). Bangkok: University Bansomdejchaopraya Rajabhat. [in Thai]

Savitree, T. (2013). Needs for self-development of private school teachers in the area Primary Education Chiang Mai Area 6. Master of Education (Educational Administration Branch). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

The National Association for Music Education. (2001). National standard for music education. Retrieved on 22 June 2017 from https://www.men.org /publication /book/standards.html