การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ชาติชัย อุดมกิจมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนครตามคุณลักษณะส่วนบุคคล (3) เพื่อแสวงหาแนวทางพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนครกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร จำนวน 300 คน โดยการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยวิธีการของทาโร่ ยามาเน่ และทำการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


                 ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนคร ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.77) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย 3.85) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลักความคุ้มค่า (ค่าเฉลี่ย 3.69) และผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนครในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย (ค่าเฉลี่ย 4.41) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ค่าเฉลี่ย 4.01)

  2. 2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนครตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านอำเภอที่อาศัยอยู่ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนครตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านอายุ ประสบการณ์ทำงาน อำเภอที่อาศัยอยู่ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. 4. แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีจำนวน 3 ด้าน คือ (1) ด้านหลักความคุ้มค่า (2) หลักคุณธรรม (3) ด้านหลักความโปร่งใสและแนวทางผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดสกลนครมีจำนวน 3 ด้าน คือ (1) ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ และ (3) ด้านการที่เกี่ยวด้วยความอาญา

 


คำสำคัญ : การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, ผลสัมฤทธิ์ตามหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชาติชัย อุดมกิจมงคล, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภักสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ปร.ด.(การจัดการภาครัฐและเอกชน) จากมหาวิทยาลัยคริสเตียน ปัจจุบันทำงานที่ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Assistant Professor Dr.Chardchai Udomkijmongkol holds a Doctor of Philosophy (Public and Private Management) from Christian University of Thailand and at present he works in program of Public Administration, Faculty of Management Science , Sakon Nakhon Rajabhat University. 

References

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing.New York: Harper & Row.

Khahjaroen, A. (2016). Performance of the role and duties of the village and sub-district headmen in U Thong

and Dan Chang districts, SuphanBuri province (Unpublished master’s thesis). Burapha University, Chon Buri.

[in Thai]

Laochai, S. (2010). Performance of the role and duties of the village and sub-district headmen: The case study of

Kuchinarai district, Kalasin province (Unpublished master’s dependent study). Mahasarkham University,

Mahasarakhaam. [in Thai]

Local Government Act, Royal Thai Government Gazette, vol. 125, part 27 a, p. 96. 5 February 2008. [in Thai]

Mektrairat, N. (2010). Siam revolution B.E. 2475 (1932). Bangkok: Same Sky Books Publishing Ltd., P’ship. [in Thai]

Nasinghkhant, P. (2007). The opinion about village and sub-district headmen’s actual and should-be roles: A case

study in the Sawang-Dan-Din district area, Sakon Nakhon province (Unpublished master’s thesis).

MahasarakhamRajabhat University, Mahasarakham. [in Thai]

Office of Sakon Nakhon Provincial Administration (2016).The governor of Sakon Nakhon province made the

briefing. 15 May 2016. Sakon Nakhon: Office of ‘Sakon Nakhon Provincial Administration. [in Thai]

Srisa-aad, B. (2000). Introduction to research (6th Ed.). Bangkok: Suwiriyasan Publisher. [in Thai]

Thepchomphu, A. (2010). Performance of the duties of the village and sub-district headmen in the Chang Han

district area, RoiEt province (Unpublished master’s thesis). MahasarkhamRajabhat University,

Mahasarakham. [in Thai]

Yamane, T. (1973). Statistics, an introductory analysis (3rd Ed.). New York: Harper &Row.