แนวทางการปลูกฝังหิริโอตตัปปะเพื่อการแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าว ของเด็กและเยาวชนในโรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นางณัฐ จันทร์หนูหงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชน 2) ศึกษาหิริโอตตัปปะเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชน 3) ศึกษาแนวทางการปลูกฝังหิริโอตตัปปะในการแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชนในโรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) เขตดอนเมืองกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดย


การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และตอบแบบสอบถาม แล้วรวบรวมนำมาศึกษาวิเคราะห์ (Analytical Study) นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของ


การวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนโรงเรียนสีกัน


(วัฒนานันท์อุปถัมภ์) ไม่ต่างจากโรงเรียนทั่วไป ส่วนใหญ่จะมีปัญหาให้ระวังเกี่ยวกับยาเสพติด การพนัน การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การติดเกมส์คอมพิวเตอร์ ปัญหาการใช้ความรุนแรง และปัญหาด้านสื่อและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี หิริโอตตัปปะเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า ธรรมคุ้มครองโลก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชน ทำให้เยาวชนรู้สึกละอายแก่ใจไม่กล้าทำ


ความชั่ว และเกรงกลัวต่อบาป หิริโอตตัปปะยังเป็นพื้นฐานแห่งหลักธรรมอื่นๆ ได้แก่ ศีล 5, กัลยาณมิตร, สาราณียธรรม, มงคลชีวิต และอริยทรัพย์ ซึ่งเป็นธรรมอันประเสริฐของมนุษย์ แนวทางการปลูกฝังหิริโอตตัปปะเพื่อการแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนในโรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) คือ 1) ปลูกฝังให้นักเรียนรักษาศีล 5 ด้วยกิจกรรมความดีต่างๆ ของศีล 5 และเกียรติบัตรความดี ให้แก่นักเรียนที่สามารถรักษาศีล 5 ได้ 2) ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีในหมู่นักเรียนด้วยหลักสาราณียธรรม และ กัลยาณมิตร 3) ส่งเสริมกิจกรรม ค่ายคุณธรรมในโรงเรียนเพื่อสนับสนุนแนวทางสองข้อแรกด้วยหลักมงคลชีวิตและอริยทรัพย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Child and Adolescent Psychiatry. (2002). Child and adolescent psychiatric texts. Bangkok: Beyond Enterprise Co., Ltd. [in Thai]
Editors. (2004, September). “Reduced! Exit Teen "hit - kill" solves the problem”. Thai Post: 39-41. [in Thai]
Intasra, V. (2006). Buddhist ethics. Bangkok: Plain Publishers. [in Thai]
Juntima, U. (2006). The use of Buddhist principles on "Tama"to develop Thai youth. Thesis Master of Arts. Graduate School: Thammasat University. [in Thai]
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitaka Version of Mahachulalongkornrajavidyalaya. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House. [in Thai]
PhraPromKhunaporn (P.O. Payutto). (2005). Dictionary of Buddhist Studies Code of Conduct (2nd ed.). Bangkok: Buddhism Publishing House. [in Thai]
________. (2011). Dictionary of Buddhist Studies The Glossary (17th ed.). Bangkok: Buddhism Publishing House. [in Thai]
________. (2012). Buddha's teachings (32th ed.). Bangkok: Bloomington Publishers. [in Thai]
Phra Buddhakosa. (2011). Book Visuddhimagga. Somdech PraPuthajan (Asara arsapamahathera) Translate and compile (10th ed.). Bangkok: Thana Press Co., Ltd. [in Thai]
Rajanagarindra Children and Young Mental Health Institute. (2013). Guidelines for caring for adolescents with violent behavior for health personnel. Bangkok: Department of Mental Health, Ministry of Public
Health. [in Thai]
Sra ubon, S. (2000). Youth Development. Bangkok: O.S. Printing House. [in Thai]
Subnirund, R. (2003). Teenagers and Violence. Matichon Journal, pp.6. [in Thai]
The Social Welfare Council of Thailand. (2017). Thailand 4.0 Driving Thai Social Welfare, 22nd National Conference on Social Welfare, pp. 99-120. [in Thai]