รูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนต้นแบบในศตวรรษที่ 21 ด้านผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษา อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธนพัฒน์ จงมีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ด้านผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างวิสาหกิจ ด้านผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ ในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างวิสาหกิจ ด้านผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ ในศตวรรษที่ 21  4) เพื่อเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนารูปแบบวิสาหกิจชุมชนในศตวรรษที่ 21 ด้านผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ 6 ด้าน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ใช้แบบสอบถาม จำนวน 297 คน และกลุ่มที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.934  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนต้นแบบในศตวรรษที่ 21 ด้านผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามคุณลักษณะของประชากรคือ เพศ อายุ อาชีพ คุณวุฒิ และรายได้ ไม่แตกต่างกัน ส่วนข้อเสนอแนะจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างวิสาหกิจชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ พบว่า เจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานให้การสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการปลูกข้าวอินทรีย์เชิงอนุรักษ์ของอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และมีการขยายตลาดจัดหาตลาดเพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตและจำหน่าย การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่สนใจต่อตลาดต่างประเทศตลอดจนกระบวนการในการดูแลรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของผู้ปริโภคทั่งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย