ลักษณะเด่นในกลอนลำมหาชาติ ฉบับ ส.ธรรมภักดีและฉบับอินตา กวีวงศ์

Main Article Content

วรางคณา เสนสม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะเด่นในกลอนลำมหาชาติ ฉบับ ส.ธรรมภักดีและฉบับอินตา กวีวงศ์  การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากกลอนลำมหาชาติ ฉบับละ 18 กัณฑ์ ในลำมหาชาติ ฉบับ ส.ธรรมภักดีและฉบับอินตากวีวงศ์ ผลการศึกษาพบว่า กลอนลำมหาชาติทั้งสองฉบับ มีลักษณะเด่นด้าน ต่าง ๆ ได้แก่ 1) รูปแบบการนำเสนอ ฉบับ ส.ธรรมภักดี พิมพ์ลงในใบลาน ส่วนฉบับ อินตา  กวีวงศ์  ตีพิมพ์เป็นหนังสือ 2) เนื้อหา กลอนลำมหาชาติทั้งสองฉบับมีเนื้อหามาจากแหล่งที่มาเดียวกัน คือ เวสสันดรชาดก จากมหานิบาตชาดก แต่ฉบับอินตา   กวีวงศ์ เพิ่มเติมรายละเอียดจากอีกฉบับ และมีลักษณะการเขียนใกล้เคียงกับสมัยปัจจุบัน 3) การใช้ภาษา ฉบับ ส.ธรรมภักดี  เขียนคำอ่านในรูปของภาษาบาลีตามต้นฉบับ   ตามแบบคำประพันธ์ที่เรียกว่า คาถา  และใช้สำนวนภาษาเก่า ส่วนฉบับ อินตา กวีวงศ์  เขียนสะกดคำตามอักขรวิธีไทยเพื่อให้สะดวกในการอ่าน และมีสำนวนภาษาใหม่ เพราะแต่งหลังฉบับ ส.ธรรมภักดี และสร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ให้ซ้ำกับฉบับ ส.ธรรมภักดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kaweewong, I. (2005). Lam Mahachat. Khonkaen: Khangnana Witthaya. [in Thai]

Patoommasoot. N. (2010). The literary influenced by folk songs in the central region and reflection on folk culture in Siwagarn Patoommasoot’s poetry. (Thesis). Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Punnotok, T. (1979). Wannakam E-san. Bangkok: Odeon Store. [in Thai]

Thammawat, J. (2013). Poompanya E-san. Ubon Ratchathani: Siritham Offset. [in Thai]

Thamphakdee, S. (1961). Lam Mahachat. Bangkok: Luk Sor.Thamphakdee. [in Thai]

Yupho, T. (1981). Tamnan Thet Mahachat. Bangkok: The Secretariat of the Prime Minister. [in Thai]