การพัฒนาอัตลักษณ์ผ้าไหมบุรีรัมย์สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์ วิเคราะห์ข้อมูลผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อประยุกต์เป็นแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์
และสังเคราะห์อัตลักษณ์ผ้าไหมบุรีรัมย์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยใช้การวิจัยผสมผสาน เชิงสำรวจ เชิงคุณภาพ
และเชิงปริมาณ ทำการสำรวจผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 23 อำเภอ ที่มีเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ 4 ชาติพันธุ์ที่ชัดเจน คือ ไทยลาว ไทยโคราช ไทยเขมร ไทยกูย
โดยการสุ่มแบบเจาะจง ทั้งหมด 11 กลุ่ม ใช้ทฤษฎีเส้นตรง (Line blend) และทฤษฎีสามเหลี่ยมด้านเท่า(Triaxial blend) ในการถอดอัตลักษณ์จากผ้าไหมมาวิเคราะห์
และสังเคราะห์นั้นใช้แบบประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบและปราชญ์ชาวบ้าน จำวน 5 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 100 คน
ผลการวิจัยปรากฏว่า ลวดลายที่ได้จาก 2 ทฤษฎีมารวมกันจะได้ทั้งหมด 552 ลาย ทดลองทอเป็นผืนผ้า 7 ลาย ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบทั้งหมด 4 ประเภท
ได้แก่ หมอนอิง เสื้อกั๊กสุภาพสตรี กล่องแว่นตา และกระเป๋าสตรีวัยทำงาน 3 รูปแบบใน 1 เซท และคู่มือองค์ความรู้เกี่ยวกับผ้าไหมของทั้ง 4 ชาติพันธ์ในจังหวัดบุรีรัมย์
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Klarmpaiboon, S. (2013). From old to new: Invader of identity and instability of anti-Thai operation. In Saiyawej, N. (Ed.). Redefine Thailand: New definition of Thailand. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation. [in Thai]
Kunthonsap, K. (2017). Creative environmental friendly coloration system for
design. (Doctoral dissertation). Burapha University, Faculty of Fine and
Applied Arts, Visual Arts and Design Program. [in Thai]
Office of Buriram Province, Division of Strategies and Information for Development. (2016). Four- year Buriram development plan (2018-2021). Retrieved on 9 November 2017 from https://1th.me/PKWw [in Thai]
Prajonsarn, S., Poungpong, K., Pichetawit, N., Poungpong, P. & Ausorn, R. (2003).
A project in establishing a local wisdom database: a case study of famous
local woven fabrics categorized by ethnic groups in Buriram. Buriram:
Buriram Rajabhat Institute. [in Thai]
Siriaumpunkul, P. (1999). History and local culture of Buriram. [in Thai]
Sriwiset, P. (1978). Kui (Suai)-Thai-English dictionary. Bangkok: Research Project of Thai and Ethic languages, Language Institute, Chulalongkorn University. [in Thai]
Thailand Information Center. (2018). Buriram province. Retreived on 6 February 2018 from https://burirum.kapook.com/ [in Thai]
Wichiensil J. (2008). Geography and vocano of Buriram. In Somjit-aree, W. (Ed.). History of Buriram (p. 2). Muang Buriram Municipality. [in Thai]
Worakamwichai, S. (1998). Ancient communities in Buriam. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, Ministry of Science, Technology and Environment. [in Thai]