ผลกระทบความสามารถในการสร้างตราสินค้าที่มีต่อความพึงพอใจในชื่อเสียง ของธุรกิจและการตอบสนองต่อลูกค้ากับความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย

Main Article Content

จณัญญา วงศ์เสนา
นันทนา อุ่นเจริญ
นภาพร จันทะรัง

บทคัดย่อ

ความสามารถในการสร้างตราสินค้าเป็นกระบวนการการบริหารจัดการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด โดยก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่โดดเด่นขององค์กร คุณค่าตราสินค้า บุคลิกภาพตราสินค้าและความเชื่อมั่นในตราสินค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ และธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและความคงอยู่ได้ของธุรกิจนำความสำเร็จมาสู่ธุรกิจทั้งในรูปแบบตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงศึกษาผลกระทบความสามารถในการสร้างตราสินค้าที่มีต่อความพึงพอใจในชื่อเสียงของธุรกิจและการตอบสนองต่อลูกค้ากับความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย  ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 1) เพื่อทดสอบผลกระทบของความสามารถในการสร้างตราสินค้าด้านต่างๆ ที่มีต่อความพึงพอใจต่อชื่อเสียง การตอบสนองต่อลูกค้าและความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย และ 2) เพื่อทดสอบผลกระทบของความพึงพอใจต่อชื่อเสียงและการตอบสนองต่อลูกค้าที่มีต่อความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย ตัวแปรที่ใช้ในการทำวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ความสามารถในการสร้างตราสินค้า ด้านภาพลักษณ์ที่โดดเด่นขององค์กร ด้านคุณค่าตราสินค้า ด้านบุคลิกภาพตราสินค้า และด้านความเชื่อมั่นตราสินค้า ตัวแปรตาม ได้แก่ ความพึงพอใจในชื่อเสียงของธุรกิจ การตอบสนองต่อลูกค้าและความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ประกอบการธุรกิจสปาในประเทศไทย ทั้งนี้จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจสปาในประเทศไทย ณ วันที่ศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 604 คน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาทั้งหมด โดยไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยได้รับการตอบแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 200 คน ประกอบด้วยธุรกิจสปา 3 ประเภท ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ 2) ผู้ประกอบการธุรกิจสปานวดเพื่อสุขภาพ และ 3) ผู้ประกอบการธุรกิจสปานวดเพื่อความงาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1) การมีความสามารถในการสร้างตราสินค้ามีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลกับความพึงพอใจในชื่อเสียงของธุรกิจ การตอบสนองต่อลูกค้าและความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย และ 2) ความพึงพอใจในชื่อเสียงของธุรกิจและการตอบสนองต่อลูกค้ามีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลเชิงบวกกับความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย โดยสรุปความสามารถในการสร้างตราสินค้ามีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลกับความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและสนับสนุนให้เกิดการสร้างตราสินค้าแก่ธุรกิจสปาเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และนำพาความสำเร็จมาสู่ธุรกิจสปาได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

จณัญญา วงศ์เสนา

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). “ผู้ประกอบการธุรกิจสปาในประเทศไทย.” ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557 จาก http://www.hss.moph.go.th/home.php
จิราวรรณ ฉายสุวรรณ. (2543). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าที่เข้มแข็งของสินค้าไทย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จีระศักดิ์ หมุนขำ. (2551). การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจสปา. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เทอดศักดิ์ อรรถรังสรรค์. (2549). การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสปาชาวไทยและชาวต่างประเทศต่อการใช้บริการสปาในโรงแรม : กรณีศึกษาโรงแรมเบลล์ วิลล่า รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2540). บริการประชาชน – ทำได้ไม่ยาก (ถ้าอยากทำ). กรุงเทพฯ : คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ.
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2551).“การส่งเสริมการตลาด.” ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2556 จาก2553.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย 3.กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ยุทธนา ธรรมเจริญ. (2547). การจัดการการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
เสริมยศ ธรรมรักษ์. (2549). การสื่อสารแบรนด์= communications. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อัมพล ชูสนุก และอังศุมาลิน เฮงมีชัย. (2556). “อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้า ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการในโรงเรียนสอนศิลปะดินสอสี.”วารสารปัญญาภิวัฒน์.10-23.
Aaker, D.A. (1991). Managing BarandEquity : Capitalizing on the Value of a Brandname. New York: Free Press.
. (1996). Building Strong Brands. New York: Free Press.
Aaker, J.L. (1997). Dimensions of Brand Personality. Journal of Marketing Research. 34(3) : 347-356.
Aaker, D.A., Kumar, V. and Day, G.S. (2001). Marketing Research. (7thed). John Wiley and Son Inc : New York.
Armstrongs, J. S. and T.S. Overton. (1997). Estimating Nonresponse Bias in Mail Surveys. Journal of Marketing Research. 14: 396-402.
Barney, J.B. (1991). Firm Resources and Sustained Competitive Advantage. Journal of Management. 17(1): 99–120.
Buzzell, Robert D. and Bradley, T. G. (1987). The PIMS Principles : Linking Strategy to Performance. New York: Free Press.
Buzzell, Robert D., Bradley, T. Gale, and Ralph, G. M. Sultan. (January-February, 1975). Market Share-A Key to Profitability. Harvard Business Review. (53): 97-106.
Churchill, G.A. & Peter, J.P. (1998). Marketing creating value for customers. (2nded.). Boston: McGraw-Hill
Delone, W.H., and McLean, E.R. (2004). Measuring e-Commerce Success: Applying the Delone& McLean Information Systems Success Model. International Journal of Electronic Commerce. 9(1): 31-47.
Dowling, G.R. (1994). Corporate Reputations: Strategies for Developing the Corporate Brand. London: Kogan Page Limited.
Duncan, T. (2002). IMC: Using Advertising & Promotion to Build Brands. New York: McGrew-Hill.
. (2005). Principles of advertising & IMC. (2nded.). Boston, MA: McGraw-Hill/Irwin.
Gardner, B.B., & Levy, S.J. (1955). The Product and the Brand. Harvard Business Review. 33(2): 33-39.
Geuens, M., Weijters, B., & De Wulf, K. (2009). A New Measure of Brand Personality. International Journal of Research in Marketing. 26(2) : 97-107.
Goldberg, L.R. (1981). Language and Individual Differences: The Search for Universals in Personality Lexicons. In L. Wheeler (Ed.). Review of Personality and Social Psychology. (2) : 141-165. Beverly Hills, CA : Sage.
Gronroos, C. (2000). Service Management and Marketing: A Customer Relationship Management Approach. (2nded.). Chichester, UK: John Wiley & Sons.
Hair, J. F. and others. (2006). Multivariate Data Analysis. (6thed). Upper Saddle River, N.J. : Pearson Education Inc.
Hall, C.M. and A.M. Williams. (2008). Tourism and Innovation. London: Routledge.
Halve, A.P. (2005). Planning for Power Advertising. New Delhi, India : Response Book.
Hee Jung, Lee Myung Soo, Kang. (2012). The Effect of Brand Experience on Brand Relationship Quality. Journal Academy of Marketing Studies. Vol.16 (Number 1, 2012).
John, O.P., & Srivastava, S. (1999). The Big Five Trait Taxonomy: History, Measurement and Theoretical Perspectives. In L.A. Pervin& O.P. John (Eds.). Handbook of Personality: Theory and Research. (pp. 102-138). New York: Guilford.
Jones, Thomas O. and W. Earl Sasser Jr. (1995). Why Satisfied Customers Defect. Harvard Business Review. 73 (November/December): 88-99.
Kotler, P. (2000). Marketing Management: Analysis of Consumer Market and Buyer Behavior. (10thed). New Jersey: Prentice-Hall.
. Marketing Management. (11th ed.). Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.
Küpper, C. (2001). Services Innovation: A Review of the State of the Art 2001-06. Munich: Institute for Innovation Research and Technology management.
Lovelock, C.H., and others. (2001). Services Marketing: An Asia-Pacific Perspective. (2nded.) New Jersey : Prentice Hall.
Morley, M. (1998). How to Manage Your Global Reputation: A Guide to the Dynamics of International Public Relation. Hampshire and London : Macmillan Press Ltd.
Musek, J. (2007). A General Factor of Personality: Evidence for the Big One in the Five-Factor Model. Journal of Research in Personality. 41(6): 1213-1233.
Norman, W. T. (1963). Toward an Adequate Taxonomy of Personality Attributes : Replicated Factor Structure in Peer Nomination Personality Ratings. Journal of Abnormal and Social Psychology. (66): 574-583.
Oliver, R. L. (1980). A Cognitive Model of the Antecedents and Consequences of Satisfaction Decisions. Journal of Marketing Research. 17(4): 460-469.
Passini, F.T., and Norman, W.T. (1966). A Universal Conception of Personality Structure. Journal of Personality and Social Psychology. (4): 44-49.
Rundle-Thiele, S. and Mackey, M.M. (2001). Assessing the Performance of Brand Loyalty Measures. Journal of Service Marketing. 15, 7(2001): 529-546.
Schultz, D.P., & Schltz, S. E. (2005). Theories of Personality. (8thed.). Belmont, California: Wadsworth.
Sebastiani, R. and Marco, P. (2010). Rethinking Service Innovation: Four Pathways to Evolution. International Journal of Quality and Service Sciences. 2(1) :79-94.
Tatiana Anatolevena Anisimova. (2007). The Effects of Corporate Brand Attributes on Attitudinal and Behavioral Consumer Loyalty. Journal of Consumer Marketing. 24(7) : 395-405.
Taylor, S.A., Celuch, K. and Goodwin, S. (2004). The Importance of Brand Equity to Customer Loyalty. Journal of Product and Brand Management. 13, 4(2004): 217-227.
Tsai, M. T., Chang, H. C.,& Tsai, C. L.(2010). The Effect of Customer Value, Customer Satisfaction, and Switching Costs on Customer Loyalty: An Empirical Study of Hypermarkets in Taiwan. Social Behavior and Personality. 38(6), 729-740, 2010.
Uncles, Mark D. and Gilles Laurent. (1997). Editorial.” International Journal of Research in Marketing. 14 : 399-404.
Wade, M. and J. Hulland. (2004). The Resource-Based View and Information Systems Research: Review, Extension and Suggestions for Future Research. MIS Quarterly. 28(1): 107-138.
Walsh, M., P. Lynch and D. Harrington. (2010). Creating superior competitive advantages for the small tourism firm through capitalizing on the firm-level dynamic capability of innovativeness. The Tourism and Hospitality Research in Ireland Conference (THRIC). 15th - 17th June 2010, Shannon College of Hotel Management.