ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปปฏิบัติที่เทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปปฏิบัติ ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปปฏิบัติ และศึกษาปัญหาอุปสรรค เสนอแนวทางเพิ่มระดับความสำเร็จของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปปฏิบัติเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แบบสอบถาม จำนวน 187 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโรยามาเน่ และอีกกลุ่มตัวอย่างหนึ่งใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยการกำหนดโควตาจากบุคลากรของเทศบาลตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสัมภาษณ์ สถิติพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปปฏิบัติเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ดังนี้ ปัจจัยด้านการจัดสรรทรัพยากร ปัจจัยด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร ปัจจัยด้านลักษณะโครงสร้างของนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ปัจจัยด้านการควบคุม ประเมินผลและการกระตุ้นส่งเสริม ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยแยกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปรากฏว่า จำแนกตาม อายุและตำแหน่งส่งผลให้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามเพศและการจำแนกระดับการศึกษาส่งผลให้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
ธเนศศรี วิชัยลำพันธ์. (2554). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประภาพร ศรีเหรา. (2557) การนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปปฏิบัติ กรณีศึกษาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เมธี ทรัพย์ประสพโชค. (2554). การนำนโยบายจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนไปปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ลมัยพร แหล่งหล้า. (2551). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยสยาม.
วัชรินทร์ สุทธิศัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติกรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
อรรถสิทธิ์ ตันติวิรัชกุล. (2554). สัมฤทธิ์ผลของนโยบายการปฏิรูปการศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Pressman, Jellrey L. & Wildavsky, Aaron B. (1979). Implementation: How Great Expectations in Washington Are Dashed in Oakland. London: University of California Press.
Van Horn, Carl E., & Van, Meter Donald, S. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society. 6(4).
Sabatier, Paul P. & Manzmanian, Daniel D.A. (1979). The Conditions of Effect Implementation: A Guide to Accomplishing Policy Objective. Policy Analysis. pp. 481-504.