รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในพื้นที่อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์2)เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3)เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผลการวิจัยพบว่า1)มี 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่อำเภอห้วยราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.68การมีส่วนร่วม มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.30 และการทำงานเป็นทีม มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.20 วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมาเอง โดยสังเคราะห์จากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรในงานวิจัย2) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานประกอบด้วย 6 กิจกรรม ดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเสริมสร้างภาวะผู้นำ การเรียนรู้ทักษะการให้บริการ การเรียนรู้การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การพัฒนาทีมงาน และการสร้างทีมงาน ผลการใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ หลังการทดลองใช้รูปแบบ มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05สรุปได้ว่า รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
จินตนา ส่องแสงจันทร์. (2549).การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลท่าตะเกียบจังหวัดฉะเชิงเทรา.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
จิตต์สุมน พรมงคลวัฒน์. (2552).ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะของผู้นำของผู้บังคับบัญชากับขวัญและกำลังใจของบุคคลากรในสถาบันสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ทัศนีย์ ลักษณาภิชชัชและคณะ.(2550).โครงการศึกษาตัวแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบหลักประกันสุขภาพระดับชุมชนระหว่างกองทุนภาครัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลและกองทุนสุขภาพชุมชน กรณีศึกษาตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
เพ็ญจันทร์ ประจันตะเสน.(2552).รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุนิดา แสงวิเชียร.(2551).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรสถานีตำรวจภูธรเมืองราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุไรวรรณ เมืองสุวรรณ์.(2549).การมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงพยาบาลระยองในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการเพื่อมุ่งสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.