การพัฒนาระบบประเมินผลวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการประเมินผลวิชาศึกษาทั่วไป รวมถึงพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของระบบประเมินผลวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยนครพนม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบหลายวิธี (Multiple Methodology) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานด้านการวัดและประเมินผลของอาจารย์ผู้สอนวิชาศึกษาทั่วไป มีคะแนนเฉลี่ยรวม 3.27 อยู่ในระดับ ปานกลาง ระบบประเมินผลวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยนครพนม ประกอบด้วยดัชนีบ่งชี้คุณภาพ 3 ตัวบ่งชี้ และ 16 เกณฑ์ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ ที่ 1 การวางแผนการวัดและประเมินผล ประกอบด้วย 6 เกณฑ์ ตัวบ่งชี้ที่ 2 การดำเนินการวัดผล ประกอบด้วย 7 เกณฑ์ และตัวบ่งชี้ที่ 3 การประเมินผล ประกอบด้วย 3 เกณฑ์ ผลการประเมินประสิทธิผลของตัวบ่งชี้และระบบฯ พบว่า ดัชนีบ่งชี้คุณภาพมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ยกเว้นเพียงข้อเดียวที่อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบฯ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ (Utility Standards) และมาตรฐานด้านความถูกต้อง (Accuracy Standards) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงที่สุด ( = 4.65) รองลงมาคือ มาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) ( = 4.63) และมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) ( = 4.60) ตามลำดับ และผลการประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างตามการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้รายวิชา (Curriculum Mapping) พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.55)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.
ชอบ เข็มกลัดและโกวิทย์ พวงงาม. (2547). การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเชิงประยุกต์. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2551). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
พงศ์เทพ จิระโร. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชา หน่วยที่ 1-7 ประเมินโครงการ (Project Evaluation). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภูษณิศา นวลสกุล. (2556). บทสรุปการสัมมนาทบทวนปรัชญาการศึกษาทั่วไป. โครงการสัมมนาทบทวนปรัชญาการศึกษาทั่วไป เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2556 ที่โรงแรม Prince Palace : กรุงเทพฯ.
ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์และคณะ. (2543). ระบบการวัดและประเมินผลผู้เรียนระดับอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
อังคณา ตุงคะสมิต. (2550). การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียน บ้านนาศรีดงเค็ง จังหวัดขอนแก่น. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Cronbach, L. J. (1963). Course Improvement through Evaluation. Teachers College Record. 64,672-683.
Stufflebeam, D. L. (1981). Standards for Evaluation of Educational Programs, Projects and Materials. New York: McGraw-Hill Book.
Stufflebeam, D.L. and others. (1981). Standards for Evaluation of Education Programs, Projects and Materials. New York: McGraw-Hill Book Company.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introduction Analysis. (2 rd ed.). New York: Harper and Row.