ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาฝึกสอน วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา และด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำแนกตามเพศและอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 20 โรงเรียน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova) ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครอง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา ด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และด้านร่างกายตามลำดับ ผู้ปกครองที่มีเพศต่างกันมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ผู้ปกครองที่มีอาชีพต่างกันมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่พบความแตกต่างที่ด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า ผู้ปกครองที่มีอาชีพรับราชการมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากกว่าผู้ปกครองที่มีอาชีพรับจ้าง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กรวิภา สรรพกิจจำนง

การศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). แนวดำเนินงานศูนย์ปฐมวัยต้นแบบ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน.
พระประดิษฐ์ สุทธิญาโณ (วิเศษ วงษา). (2553). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอัมพวันศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ราตรี อิงมั่น. (2556). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนพันธะวัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วิชชุลดา งามปลอด. (2540). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนปฐมวัยเอกชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรรณพ แสงแจม. (2548). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภายหลังการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของนิสิตฝึกสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุไรวัลย์ ขวัญแก้ว. (2542). รูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูโดยใช้ความร่วมมือทางการศึกษาของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรุณี หรดาล. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). การศึกษาปฐมวัยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิกฤตหรือโอกาส. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 5(2) : 54-62
Song, I. S. & Hattie, J. A. (1984). “Home environment, self-concept, and academic achievement: A causal modeling approach”, Journal of Education Psychology. 76 : 1262-1281.
Vygotsky, L. S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Harvard University Press.