ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

สมภพ กาญจนะ
เผ่าไทย วงศ์เหลา

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ความตั้งใจเรียน ทักษะการคิด แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ คุณภาพการสอนของอาจารย์ ความรู้พื้นฐานของนักศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 และ 2) ศึกษาอิทธิพลของเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ความตั้งใจเรียน ทักษะการคิด แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ คุณภาพการสอนของอาจารย์ ความรู้พื้นฐานของนักศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2558 และได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาแคลคูลัส 1 จำนวน 142 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้แก่ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ความตั้งใจเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทักษะการคิด และคุณภาพการสอนของอาจารย์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.156 – 0.526 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ความตั้งใจเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทักษะการคิด กับคุณภาพการสอนของอาจารย์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 เท่ากับ 0.759 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ได้แก่ ทักษะการคิด (X5) คุณภาพการสอนของอาจารย์ (X4)  และความตั้งใจเรียน (X2) ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ร้อยละ 37.5 โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = - 3.466 + 0.325X5 + 1.871X4 + 0.146X2  และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = 0.374Z5 + 0.302Z4 + 0.216Z2

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สมภพ กาญจนะ

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

References

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ยุพิน พิพิธกุล. (2543). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
ธีรยุทธ พึ่งเทียร. คู่มือครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ : สูตรไพศาล.
สุทิน กองเงิน. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุชาติ หอมจันทร์. (2546). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิภา เมืองมิ่ง. (2549). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.