กลวิธีประกอบสร้างสำนวนไทยเพื่อเชิงอำนาจ

Main Article Content

อริยานุวัตน์ สมาธยกุล
วรวรรธน์ ศรียาภัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ที่มาของสำนวนไทยเพื่อเชิงอำนาจ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แต่เพิ่มค่าร้อยละ โดยการวิเคราะห์ที่มาของสำนวนไทยเพื่อเชิงอำนาจ จำนวน 7,936 สำนวน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามแนวคิดของ มิเชล ฟูโกต์ ได้ 1,326 สำนวน ผลการวิจัยพบว่า 1) สำนวนไทยเพื่อเชิงอำนาจที่เกี่ยวกับความเป็นไปของสังคมพบเพื่อเชิงอำนาจจำนวน 888 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 66.96 จำแนกได้ 9 ประเด็น คือ (1) หน้าที่การงาน (2) การติดต่อสื่อสาร (3) การคมนาคม (4) การติดสินบน (5) การกลั่นแกล้ง (6) การทรยศคดโกง (7) การดำรงชีวิตของคนในสังคม (8) การทำมาหากิน (9) ข้อคิดข้อเตือนใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิต 2) สำนวนไทยเพื่อเชิงอำนาจมีที่มาเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีพบเพื่อเชิงอำนาจจำนวน 273 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 20.58 จำแนกได้ 6 ประเด็น คือ (1) วัฒนธรรมประเพณี (2) ความเชื่อทางศาสนา (3) ด้านไสยศาสตร์ (4) การปกครองคน (5) การแบ่งชนชั้น (6) หลักกฎหมาย 3) สำนวนไทยเพื่อเชิงอำนาจมีที่มาเกี่ยวกับอุปนิสัยและความประพฤติพบเพื่อเชิงอำนาจจำนวน 165 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 12.44 จำแนกได้ 2 ประเด็น คือ (1) อุปนิสัยใจคอ (2) ความประพฤติของคนทั่วไปในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อริยานุวัตน์ สมาธยกุล

สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

References

กาญจนา นาคสกุล. (2549). “คำประสม คำประสาน และคำซ้ำ-คำซ้อน”. ใน บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2 : คำ การสร้างคำ และการยืมคำ. กรุงเทพฯ : สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการกาศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา. (2529). การเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและความหมายของสำนวนไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เครือรัตน์ ฤทธิเดช. (2540). ถ้อยคำที่ใช้เป็นสำนวนในภาษาถิ่นภาษาใต้ ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2556). ภาษากับการเมือง/ความเป็นการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฐิติวัฒน์ จตุรวิธวงศ์. (2546). การวิเคราะห์ลักษณะและภาพสะท้อนจากสำนวนไทย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2556). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : สัมปชัญญะ.
วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2549). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2 : คำ การสร้างคำและการยืมคำ. กรุงเทพฯ : สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
วิจินตน์ ภานุพงศ์ และคณะ. (2552). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3 : ชนิดของคำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
อริยานุวัตน์ สมาธยกุล. (2550). การเปลี่ยนแปลงสำนวนไทยในพจนานุกรมไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2555). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.