ปัจจัยที่ส่งผลต่อครัวเรือนยากจน เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

คำสุกขะ ทำมะวง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อครัวเรือนยากจน เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับตัวแทนของครัวเรือนยากจนและตัวแทนของครัวเรือนพ้นความยากจน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 55 คน


        ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อครัวเรือนยากจนมีทั้งหมด 7 ปัจจัย คือ 1)ปัจจัยด้านการศึกษาอาคารเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีอยู่ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ ยังไม่มีโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาประจำในหมู่บ้าน บุคลากรทางด้านการศึกษายังไม่เพียงพอ ขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ในการเรียนการสอนและเครื่องแบบนักเรียน ขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านการศึกษา และ ไม่มีทุนการศึกษาเพื่อสนับสนุนสำหรับนักเรียนที่ยากจน 2) ปัจจัยด้านสาธารณสุข ยังไม่มีสถานีอนามัยประจำในหมู่บ้านทำให้ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพทำให้ไม่สามารถป้องกันตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ 3) ปัจจัยด้านอาหาร เนื่องจากเกิดปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้งน้ำท่วมเป็นต้น เกิดภัยสงคราม หลังจากเสร็จสิ้นภัยสงครามมีลูกระเบิดที่เก็บกู้ยังไม่หมดในพื้นที่ทำกิน ทำให้พื้นที่ทำกินน้อยและภาครัฐยังเข้ามาช่วยเหลือไม่ทั่วถึง เช่น การช่วยเหลือด้านระบบชลประทาน 4) ปัจจัยด้านที่อยู่อาศัย อาคารบ้านเรือนของประชาชนมีการก่อสร้างที่ยังไม่มั่นคงถาวร ทำให้ชีวิตไม่มีความปลอดภัยที่เพียงพอ 5) ปัจจัยด้านคมนาคม เส้นทางการคมนาคมระหว่างหมู่บ้านไปอำเภอเป็นหลุมเป็นบ่อและยังไม่มีรถโดยสารประจำทางเพื่อเดินทางระหว่างหมู่บ้านไปที่อำเภอทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่าที่ควร 6) ปัจจัยด้านข้อมูลข่าวสาร ยังไม่มีหอกระจายข่าวประจำในหมู่บ้านทำให้ประชาชนขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และ 7) ปัจจัยด้านรายได้ ประชาชนยังมีรายได้ต่ำโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6,000 บาท/ปี หรือเฉลี่ยอยู่ประมาณ 500 บาท /คน/เดือน ซึ่งยังต่ำกว่าที่หน่วยงานภาครัฐกำหนดไว้หน่วยงานภาครัฐกำหนดไว้ เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ768 บาท/คน/เดือนสาเหตุของประชาชนที่มีรายได้ต่ำเนื่องจากประชาชนมีอาชีพหลักจากการทำนาเพียงอย่างเดียว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Fundamental Party Committee at the Langkhang -Wangmaner Assembly Point. (2014). Summary Report no. 135/AP-LK,
October 25.Boualapha district, Khammouane province, Lao People’s Democratic Republic.

Ministry of Planning and Investment. (2014). From a survey of the Lao National Statistics Center: Vientiane.

________. (2015). Lao National Statistics Center - 40 Years: Vientiane.

Onladsamee, P. (2014). The role of the state in solving economic poverty in Houaphan province, A Thesis for Political
Economy, National Institute of Politics and Government, Vientiane: Lao People’s Democratic Republic.

Office of Central Rural Development and Poverty Eradication. (2016). Vientiane: Lao People’s Democratic Republic.

Ravallion, Martin. (2008, February 23). Chen Shaohua & Sangraula, Prem Dollar a Day. The World Bank Economic
Review. (pp. 163-184). Retrieved on 27 November 2016 from https://1th.me/3Q3d

The Speech. (2014). Practice of assessing poverty standards and standard development according to the speech no.
309/PM, 20-30 March, Khammouane Province Level, Lao People’s Democratic Republic.

________. (2015). Practice of assessing poverty standards and standard development according to the speech no.
309/PM, Vientiane: Lao People’s Democratic Republic.

United Nations. (2011, January 1). “About LDCs” Least Developed Countries. UN-OHRLLS Retrieved on 1 January 2011
from https://1th.me/kA2v