การพัฒนาการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

อภิชิต โพธิ์ศรี
มาลี ไชยเสนา
สังวาล สมบูรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ สภาพทั่วไปของการผลิตข้าวและความต้องการในการพัฒนา รวมไปถึงกำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวที่ได้รับการยอมรับว่ามีแนวทางการบริหารจัดการที่ดี จำนวน 2 กลุ่ม และครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตข้าวนาปีในจังหวัดอำนาจเจริญ ปีการเพาะปลูก 2558 จำนวน 65,971 ครัวเรือน ทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การผลิตข้าวของเกษตรกรในจังหวัดอำนาจเจริญได้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 347.2 กิโลกรัม ต้นทุนต่อกิโลกรัมเฉลี่ย 4.02 บาท ราคาขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.71 บาท ได้ผลกำไรต่อกิโลกรัมเฉลี่ย 6.69 บาท รายได้ต่อไร่เฉลี่ย 3,718.51 บาท ได้ผลกำไรต่อไร่เฉลี่ย 2,322.51 บาท ภาพรวมการบริหารจัดการการผลิตข้าวทั้งจังหวัดอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.33, S.D. = .62) แนวทางการพัฒนาการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรการผลิต ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว และยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดและการบริหารจัดการสินค้าและผลิตภัณฑ์จากข้าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amnat Charoen Provincial Agriculture and Cooperatives Extension Office. (2015). Establishment of Amnat Charoen agriculture and cooperative database system. Amnat Charoen: Agricultural Information Group. [in Thai]

Amnat Charoen Provincial Commercial Office. (2015). Amnat Charoen rice guide. Amnat Charoen: Siritham Offset. [in Thai]

Amnat Charoen Farmers Council Office. (2014). Proposals for solving the problem of falling rice prices (Copied documents). Amnat Charoen: Agricultural Strategy Department. [in Thai]

Chiangkhun, W. (2001). The survival of Thailand: Revolutionizing the thinking framework and new learning system. Bangkok: Ruen Panya Co., Ltd. [in Thai]

Chitsanguan, T. (2000). The guidelines and policies for sustainable agricultural development: a case study in the north (Research report). Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. (2013). Agricultural statistics of Thailand 2013. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. [in Thai]

Phuangmani, J. et al. (2014). Integrated management for enhancing yield and quality of chemical free product in rice-vegetables production system (Research report). Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]
Rice Department. (2015). Knowledge of rice. Retrieved on 25 July 2015 from
https://www.brrd.in.th/rkb/ [in Thai]

Ruangchai, T. et al. (2013). Rice production adjustment program for security in community life in Yasothon (Research report). Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]

Somboonsan, N. (2011). Grouping and networking. Teaching documents, academic development groups, institutional groups and farmer organizations, Unit 8-15. Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]

Thongpreecha, Y. (2010). Knowledge, attitude, and practices on organic fertilizer application for growing rice of farmers, Mae Suai District, Chiang Rai province (Research report). Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. [in Thai]

Weerapattananirun, P. (1993). The sustainable agriculture: Meaning, concepts and system development sustainable agriculture, the future of Thai agriculture. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. [in Thai]

Yurachai, S. el al. (2013). The support to product of safety rices for the project entitled Integrating of food stability and increase to income’s household in Ubonratchathani (Research report). Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]