รูปแบบการดูแลระยะยาวแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วม

Main Article Content

กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์
ฐิติมา โกศัลวิตร
นฤมล บุญญนิวารวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบทและสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยเครือข่ายชุมชน และ 2) พัฒนารูปแบบการดูแลระยะยาวแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 316 ราย กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบคือ ผู้ที่มีประสบการณ์หรือเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลผู้สูงอายุ 35 คน เลือกโดยวิธี Snowball Samplingเครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีผู้ดูแลหลักเป็นสมาชิกในครอบครัว ให้การดูแลกิจวัตรประจำวันส่วนการดูแลโดยเครือข่ายชุมชนและหน่วยงานภาครัฐเป็นการเยี่ยมบ้านและการดูแลสุขภาพที่บ้าน รูปแบบการดูแลระยะยาวแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงประกอบด้วย 1) การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล    2) การดูแลต่อเนื่องในชุมชน 3) การบริการเชิงรุก 4) การบริการในสถานพยาบาล        5) การสร้างเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วม และ 6) การรับข้อมูล/ให้คำปรึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bundhamcharoen, K. & Sasat, S. (2008). Long term care: Comparative analysis for policy recommendattion. Ramathibodi Nursing Journal, 14(3), 385-399. [in Thai]

Dongbang Sub-district Health Promoting Hospital. (2018). The report of long term care 2018. Ubon Ratchathani: Dongbang Sub - district Health Promoting Hospital. [in Thai]

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2014). Situation of the Thai elderly 2014. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. [in Thai]
________. (2018). Situation of the Thai elderly 2018. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. [in Thai]


Hawanon, N. & Wathanotaia, T. (2009). A new agenda for developing housing for elderly in Thai society. Bangkok: Faculty of Architecture Community,
Rajamangala University of Technology Thanyaburi Foundation of Thai. [in Thai]

Phalasuek, R. & Thanomchayathawatch, P. (2017). A family model for older people care.
The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), pp. 135-150. [in Thai]

Sawatphol, C., Pengpinit T., Senanikorn, A. & Srisuraphol, W. (2018). Care for elderly dependents in the Northeast of Thailand.
Journal of MCU Peace Studies, 5(Special Issue), pp. 387-405. [in Thai]

Sihapark, T., Chuengsatiansup, K. & Tengrang, T. (2014). Associated burden and impact as well as the role of organizations involved in long - term care for the elderly in Thailand.
Nonthaburi, Thailand: Health Systems Reform Office. [in Thai]

Thanakwang, K. (2008). Social networks and social support influencing health-promoting behaviors among Thai community-Dwelling elderly.
Thai Journal of Nursing Report, 12(4), pp. 243-258. [in Thai]
World Health Organization. (2000). Home-based long-term care: Report of a WHO study group. Geneva: WHO.
________. (2003). Collection on long-term care: Key policy issues in long term care. Geneva: WHO.