ความตั้งใจในการใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พิจิตรา ทองสา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อรุณรัตน์ เศวตธรรม คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ปวีณา คำพุกกะ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ทักษะทางการเงิน, แรงจูงใจในการมอบมรดก, ทัศนคติต่อสินเชื่อ, สินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจทักษะทางการเงิน 2) ศึกษาอิทธิพลของ ทักษะทางการเงิน แรงจูงใจในการมอบมรดก และทัศนคติต่อสินเชื่อที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือบุคคลที่มีสัญชาติไทยและมีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 592 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะทางการเงินสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบได้จำนวน 5 องค์ประกอบ โดยทั้ง 5 องค์ประกอบสามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 58.71 ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ 1 พฤติกรรมการก่อหนี้ สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 33.54 องค์ประกอบที่ 2 ทัศนคติทางการเงิน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 11.31 องค์ประกอบที่ 3 พฤติกรรมการออมเงิน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 5.09 องค์ประกอบที่ 4 พฤติกรรมการใช้จ่าย สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 4.98 และสุดท้าย องค์ประกอบที่ 5 ความรู้ทางการเงิน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 3.79 2) ผลการศึกษาอิทธิพลที่มีต่อความตั้งใจในการใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ ได้แก่ พฤติกรรมการก่อหนี้ ทัศนคติทางการเงิน พฤติกรรมการออมเงิน พฤติกรรมการใช้จ่าย ความรู้ทางการเงิน แรงจูงใจในการมอบมรดก และทัศนคติต่อสินเชื่อมีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความตั้งใจในการใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุได้ร้อยละ 49.5

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การใช้ SPSS of windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร

ทรรศนันทน์ ตรีอิทธิฤทธิกุล. (2562). ทักษะการเงินของประชากรไทย. การค้นคว้าอสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). “การให้สินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุโดยมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (Reverse Mortgage) ของสถาบันการเงิน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.bot.or.th สืบค้น 15 ธันวาคม 2564.

______. (2563). “รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2563.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bot.or.th/content/dam/bot/image/research-and-publications/2563ThaiFLsurvey.pdf สืบค้น 9 ตุลาคม 2564.

ธนาคารออมสิน. (2560). “สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ เปลี่ยนบ้านเป็นบำนาญ ด้วยสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ Reverse Mortgage.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www. gsb.or.th/personal/loan-rm สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564.

นพดล รุ่งดำรงค์. และ ฐิติกานท์ สัจจะบุตร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อแบบ Reverse Mortgage ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์. (2565). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนในหุ้น.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.scb.co.th/th/-personal-banking/stories/factors-affecting-investment-in-stocks.html สืบค้น 15 ธันวาคม 2565.

พรชนิต เหมไพบูลย์ และ ลดาวัลย์ ยมจินดา. (2563). ทักษะทางการเงินของคนวัยทำงานในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พิจิตรา ทองสา และคณะ.(2566). ความตั้งใจในการใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พิมพ์ธัญญา ฆ้องเสนาะ. (2561). Reverse Mortgage (RM) : สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ทางเลือกใหม่วัยเกษียณ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์.

วัลลภา ปิ่นวิรุฬห์. และ ปราณี เอี่ยมลออภักดี. (2561). ปัจจัยภายในและปัจจัยทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารออมสิน เขตสมุทรปราการ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศรัญญา ศึกสงคราม และ อนงค์นุช เทียนทอง. (2563). “อิทธิพลของความรู้และทัศนคติทางการเงินต่อการก่อหนี้ส่วนบุคคลในวัยเริ่มทำงาน:หลักฐานการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ.” วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2(5) : 73-87.

Mohammed, M. I. and Sulaiman, N. (2018, August). “Possibility of introducing reverse mortgage product in Malaysia.” Qualitative Research in Financial Markets. 10(3) : 265-284.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)