บทบาทของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
บทบาท, ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การพัฒนาท้องถิ่น, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในบทบาทผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 10,172 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีความน่าจะเป็นของทาโร ยามาเน่ได้จำนวน 387 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t – test) ค่าเอฟ (F - test) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความปลอดภัยของชุมชน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว ตามลำดับ
2. ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. ข้อเสนอแนะในบทบาทของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ คือ 1) ควรขยายไหล่ทางและติดตั้งไฟฟ้าถนนหลักระหว่างหมู่บ้าน 2) ควรจัดอบรมความรู้ การประกอบอาชีพเสริมให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง 3) ควรติดตั้งวงจรปิดประจำหมู่บ้าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยของชุมชน 4) ควรส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณในการลงทุนประกอบธุรกิจ และพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ 5) ควรส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนไฟฟ้า โดยติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านเรือนและการเกษตร และ 6) ควรส่งเสริมสนับสนุนปราชญ์ท้องถิ่น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เยาวชนและผู้สนใจ
Downloads
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กองราชการส่วนตำบล. (2550). คู่มือการปฏิบัติงานการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
กุสุมา เขียวเพกา. (2560). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทองอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เกศสุดา โภคานิตย์. (2559). บทบาทผู้นําในการพัฒนาทองถิ่น กรณีศึกษานายกองคการบริหารส่วนตำบลนาเสียวอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ฐานันดร ปูนิล และคณะ. (2556). “บทบาทของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง.” ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย” วันที่ 10 พฤษภาคม 2556. หน้า 62-73. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธัชพล หวังชูแก้ว. (2559). บทบาทของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการพัฒนาท้องถิ่น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น) วิทยาลัยการจัดการ เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พัชรา วงศ์แสงเทียน และ สกุณา พัฒนเวช. (2562, พฤษภาคม-สิงหาคม). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก.” วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 1(1) : 46-58.
พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์, สัญญา เคณาภูมิ และ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2558) “บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21.” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 3(2) : 146-161.
ยุวดี พ่วงรอด. (2557). บทบาทผู้นำท้องถิ่นต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของประชาชนในชุมชนกรณีศึกษาานายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560,” (2560, เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134. ตอนที่ 40 ก.
รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์ และคณะ. (2563, มกราคม-มิถุนายน). “บทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสนับสนุนกลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่ตำบลพระยาบันลือและคลองพระยาบันลือ อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.” วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6(1) : 443-463.
สำนักงานส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2554). การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570). สุรินทร์ : องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี.
Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. 3rd ed. New York : Harper & Row.