การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
หลักธรรมาภิบาล, การบริหารงานวิชาการ, งานวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทาง การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 660 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา 285 คน และครูผู้สอน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวม พบว่า มีการใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดอุบลราชธานี ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นการใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถแยกเป็นด้านมีรายละเอียดดังนี้ (1) หลักนิติธรรม มีการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นรายวิชาตรงตามเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) (2) หลักคุณธรรม จัดการเรียนการสอน โดยสอดแทรกหลักคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้กับนักเรียน (3) หลักความโปร่งใส ประกาศการใช้หลักสูตรสถานศึกษาให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนทราบก่อนนำไปใช้ (4) หลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง และชุมชน โดยมีส่วนร่วมในการจัดทำระเบียบ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลในงานวิชาการของสถานศึกษา (5) หลักความรับผิดชอบ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบแก่บุคลากรในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ (6) หลักความคุ้มค่า สนับสนุนให้ครูที่มีความรู้ ความสามารถด้านสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน กำกับติดตามการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.พ.ส.).
______. (2551). กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
______. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.พ.ส.).
จิรศักดิ์ สุภารส และชิดชัย สนั่นสียง. (2560). “การศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2.” วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 4(1) : 47-54.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
พระสมุห์สนอง ยสิโก. (2554). การใชหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของผูบริหาร โรงเรียนประถมศึกษา เขตบางคอแหลม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.” (2560, เมษายน 6). ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 17.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพศึกษาระเบียบวาระแห่งชาติ 2551-2555. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุนิสา เกตุแก้ว. (2557). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรชนก รวมสันเทียะ และสจีวรรณ ทรรพวสุ. (2558, กรกฎาคม-ธันวาคม). “การบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพกลาง.” วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 6(1) : 256-263.
อวยชัย ประกอบนันท์. (2556). สภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.