การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพจน์ บุญวิเศษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล, เทศบาลนครปากเกร็ด

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติสำเร็จรูป และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
     ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความโปร่งใส ส่วนด้านหลักนิติธรรมมีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครปากเกร็ด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ตำแหน่งหน้าที่ และระยะเวลาการปฏิบัติติงาน ไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครปากเกร็ด ควรส่งเสริมยกระดับความรู้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน โดยจัดฝึกอบรมศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำแผนควบคุมภายในหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ร่วมรับฟังการพิจารณางบประมาณ มีระบบบริหารการเงินและพัสดุที่รัดกุม จัดรวบรวมระเบียบกฎหมายเผยแพร่ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

Downloads

Download data is not yet available.

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2550, กันยายน – ธันวาคม). “การทุจริตคอร์รัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรการและกลไกการป้องกัน.” วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 5(3) : 107–130.

จำรูญ วรรณา. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจืดน้อย อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง. ปัญหาพิเศษ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาญยุทธ พวงกำหยาด. (2560). “การนําหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1.” วารสารจันทรเกษมสาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 23(44) : 49 - 63.

ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. (2566). รัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ติยานนท์ แสงบุตร. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2558). คู่มือการจัดทำดัชนีวัดผลการบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เทียนชัย นามวงษ์. (2559). การศึกษาการรับรู้และการการปฏิบัติจริงในการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2566). “การกระจายอำนาจ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การกระจายอำนาจ สืบค้น 12 มีนาคม2566.

บันลือศักดิ์ วงศ์พิทักษ์. (2556). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

บูฆอรี ยีหมะ. (2555). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาจรีย์ วงษ์ชุ่ม. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลกับคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด. ปัญหาพิเศษ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ. (2557). คอร์รัปชันในระบบราชการไทย : การสำรวจทัศนคติประสบการณ์ของหัวหน้าครัวเรือน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระอนุเทพ สุทธิญาโน (นิยมเกล้า). (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2559). ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพลส.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2546). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการปรับเปลี่ยน. นนทบุรี : สำนักงานสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2550). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนญูแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สุมนา ยิ้มช้อย. (2561). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตามการรับรู้ของประชาชน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

แสงชัย อภิชาติธนพัฒน์. (2559). “ความเป็นมาของหลักธรรมาภิบาล.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.kmutt.ac.th/sd/html/pdf/tam.pdf สืบค้น 6 สิงหาคม 2565.

อรทัย ทวีระวงษ์. (2557). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3 ed th. New York : Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)