การศึกษาการรู้ดิจิทัลสำหรับครูระดับประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นิภาสิริ สังสีมา นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นุชจรี บุญเกต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อุดม หอมคำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การรู้ดิจิทัล, เทคโนโลยีดิจิทัล, การส่งเสริมการรู้ดิจิทัล, ครูระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรู้ดิจิทัลสำหรับครูระดับประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครูระดับประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูจังหวัดสุรินทร์ที่อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 เขต 2 และเขต 3 จากการคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร ยามาเน่ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่าง 381 คน โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีการรู้ดิจิทัลทั้ง 8 ด้านอยู่ในระดับมาก และการเปรียบเทียบการรู้ดิจิทัลจำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การสอน และขนาดของโรงเรียน พบว่า เพศและวุฒิการศึกษาที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล สำหรับอายุ ประสบการณ์การสอน และขนาดของโรงเรียนที่แตกต่างกันส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ 2) แนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครูได้ทั้งหมด 6 แนวทาง ได้แก่ (1) จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อดิจิทัลในการใช้โปรแกรมด้านเทคโนโลยี (2) จัดหาหรือสนับสนุนอุปกรณ์เสริมที่ทันสมัยให้เพียงพอสำหรับครูและนักเรียน (3) สนับสนุนให้ครูแต่ละท่านศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อออนไลน์ หรือเรียนรู้ด้วยตัวเอง (4) ติดตั้ง WIFI ที่มีความเร็วสูง (5) แนะนำให้มีการจัดการประกวดการผลิตสื่อดิจิทัล และ (6) แนะนำโปรแกรมสำเร็จรูปที่สะดวกในการสร้างสื่อให้กับครูในการจัดทำสื่อต่าง ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณัทชลิดา บุตรดีวงษ์. (2561). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแสนสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.

เมษา นวลศรี และกุลชาติ พันธุวรกุล. (2564, ตุลาคม-ธันวาคม). “การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาราชภัฏ.” วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 49(4) : 1 - 15.

วณิชชา แม่นยำ, วิลาวัลย์ สมยาโรน, ศรันยู หมื่นเดช และชไมพร ศรีสุราช. (2557). “เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในยุคศตวรรษที่ 21.” วารสารปัญญาภิวัฒฯ. 5(ฉบับพิเศษ) : 195 - 207.

Calvani, A., Cartelli, A., Fini, A., & Ranieri, M. (2009). “Models and instruments for assessing digital competence at school.” Journal of E-learning and knowledge Society. 4(3) : 183 - 193.

Europe commission. (2014). “A common European digital competence framework for citizens.” [Online]. Available : https://openeducationeuropa.eu/sites/default/files/DIGCOMP% 20brochure%202014%20.pdf Retrieved May 10, 2023.

Gallardo-Echenique, et. Al. (2015, March). “Digital Competence in the Knowledge Society.” Journal of online learning and teaching. 11(1)

Krumsvik, R. J. (2008). “Situated learning and teachers’ digital competence.” Education and Information Technologies. 13(4) : 279 - 290.

Maderick, J. A., Zhang, S., Hartley, K., and Marchand, G. (2016). “Preservice teachers and self-assessing digital competence.” Journal of Educational Computing Research. 54(3) : 326 - 351.

Yamane, Taro. (1967). Statistics : An Introductory Analysis. 2nd Edition. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)