การศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะดิจิทัลนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • กัญฬาพัฒน์ ทันแก้ว นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นุชจรี บุญเกต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ประชิต อินทะกนก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ดิจิทัล, สมรรถนะดิจิทัล, เทคโนโลยีดิจิทัล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะดิจิทัลนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ที่ความเชื่อมั่น 95 สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคปกติ 2/2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 501 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะ สำนัก จำนวน 13 ท่าน โดยเลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพทำการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะดิจิทัลนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.14) เมื่อพิจารณารายข้อจากมากไปหาน้อย พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัล ( gif.latex?\bar{x} = 4.21) รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ( gif.latex?\bar{x} = 4.19) และด้านพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ( gif.latex?\bar{x} = 4.15) ตามลำดับ 2) แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ด้านการจัดสอบสมรรถนะดิจิทัล 5) ด้านการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา และ 6) ด้านการออกแบบเครื่องมือวัดการสอบ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนาพร ผลทำโชค. (2566, พฤษภาคม-มิถุนายน). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ของบุคลากรภาครัฐ กรมโรงงานอุตสาหกรรม.” วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 12(3) : 166-176.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2562). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล : Digital learning design. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และวาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2563, มกราคม-เมษายน). “การศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. 15(1) : 106-117.

ชินวัตร เจริญนิตย์ และคณะ. (2566, พฤษภาคม-สิงหาคม). “สภาพและปัญหาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 17(2) : 98-113.

ทินกร เผ่ากันทะ และกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2565, ตุลาคม-ธันวาคม). “แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล.” วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 4(2) : 37-46.

ธงชัย สมบูรณ์. (2563, กรกฎาคม 30). “สถานศึกษา : การสร้างค่าองค์กรสมรรถนะสูง.” มติชนออนไลน์. หน้า 1.

ธนพร พวงทอง. (2566). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ (HRIS) ของบุคลากรในฝ่ายบริหารทุนมนุษย์องค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนาคาร อินทรพานิชย์. (2560). ปัจจัยสมรรถนะทางเทคโนโลยีและการสั่งสมความรู้ความเชี่ยวชาญ. ของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอิทธิพลต่อการสร้างนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ) สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธรรมสันต์ สุวรรณโรจน์ และคณะ. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). “สมรรถนะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย: การวิเคราะห์เอกสารวิชาการ.” วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12(2) : 88-106.

นภสร สุดท้วม. (2560). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เนตรนภา ศรีมหาโพธิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองในองค์กรดิจิทัล ของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บรรพต กิติสุนทร. (2565). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวองค์กรภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล.” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2565. หน้า 2236-2246. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา.

ปิยพัชร์ ภูศิริ และคณะ. (2562, กันยายน-ธันวาคม). “การรับรู้ประ โยชน์ การรับรู้ความเสี่ยงการรับรู้การใช้งานง่าย และทัศนคติที่มีผลต่อการยอมรับ ของผู้บริโภคในการนำเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในศาสตร์ชะลอวัย.” วารสารสมาคมนักวิจัย. 24(3) : 57-73.

ปุณณิฐฐา มาเชค. (2565). การบริหารองค์กรในยุคดิจิทัล. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2564). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (พ.ศ. 2563–2565) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565. กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

พรพิมล พิสูตร. (2565, มกราคม-กุมภาพันธ์). “การรับรู้ และทัศนคติของประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ระบบตลาดแลกเปลี่ยนแบบไร้ตัวกลาง (Uniswap) ในประเทศไทย.” วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 5(1) : 25-38.

พิชามญชุ์ สุรียพรรณ. (2565, มกราคม-มิถุนายน). “เทคโนโลยีดิจิทัลกับการจัดการเรียนรู้ร่วมกันออนไลน์.” วารสารบัณฑิตวิจัย. 13(1) : 1-12.

พิรดา ผาคำ และคณะ. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). “แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในยุคการศึกษา 4.0.” วารสารบัณฑิตวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 12(2) : 103-118.

ภัทราพร เยาวรัตน์. (2565). การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วราพินทร์ ชาววิวัฒน์. (2565). แนวทางการส่งเสริมทักษะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). การทำงานเป็นทีม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วิภาวรรณ บุญรอด. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเอ็มเลิร์นนิ่งของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชกัฏสุรินทร์.

ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศกรณีศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. (2565). มาตรฐานสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)