การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการในโลกยุคดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • สนิทเดช จินตนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุพิศ บุญลาภ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ชัยมงคล สุพรมอินทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ, ผู้ประกอบการยุคดิจิทัล, ปัจจัยที่มีผลต่อคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ, นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการในโลกยุคดิจิทัล 2) ศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการในโลกยุคดิจิทัลฯ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการในโลกยุคดิจิทัลของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างใช้การคำนวณโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซีและมอร์แกน ได้กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 1,064 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง
     ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการใหม่ในโลกยุคดิจิทัล โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=3.88) 2) นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีชั้นปีการศึกษา ความเป็นผู้ประกอบการของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง และการวางแผนและมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้ประกอบการต่างกันจะมีคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการในโลกยุคดิจิทัลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการเป็นผู้ประกอบการ ความต้องการความสำเร็จในชีวิต สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการจัดการศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการ มีอิทธิพลทางบวกต่อคุณลักษณะในการเป็นผู้ประกอบการในโลกยุคดิจิทัล ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น .732 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ตัวแปรตามได้ร้อยละ 53.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

ปารวี แก้วมณีชัย และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). “การศึกษาคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการใหม่ของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา.” วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 6(1) : 157–165.

พัชรินทร์ เพชรช่วย, ปลื้มใจ ไพจิตร, และ รัตติยาภรณ์ รอดสีเสน. (2564). “คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี.” วารสารวิทยาการจัดการ. 8(1) : 107–124.

วรวุฒิ พันธาภา และ จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร. (2564). “ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ กับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร.” วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8(1) : 16–34.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). “การรู้ดิจิทัล (Digital literacy).” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ops.go. th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/854-zxfdgsdgs สืบค้น 15 มิถุนายน 2566.

ศุภนารี พิรส และ ธรรศนวัตร์ ไชยเยชน์. (2565). “คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.” วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี. 1(2) : 41–52.

สิริมา หิมะเซ็น, ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ, จิระวัฒน์ ตันสกุล และ ธีระยุทธ รัชชะ. (2564). “การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(10) : 109–122.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). “รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2564.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210922171225.pdf สืบค้น 19 พฤษภาคม 2565.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ download/document/ SAC/NS_ Plan Oct 2018.pdf สืบค้น 17 พฤษภาคม 2565.

______. (2562). “ยุทธศาสตร์ชาติ กับ SDGs.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sdgs.nesdc.go.th/ยุทธศาสตร์ชาติ กับ SDGs สืบค้น 16 พฤษภาคม 2565.

______. (2565). “รายงานภาวะสังคม.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_news. php?nid= 10291 สืบค้น 18 พฤษภาคม 2565.

______. (2565). “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570).” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ download/document/Yearend/2021/plan13.pdf สืบค้น 16 พฤษภาคม 2565.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2564). “สถิติข้อมูลปีการศึกษา 2564.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.oreg.rmutt.ac.th/?p=18115 สืบค้น 17 พฤษภาคม 2565

อมินดารา อริยธาดา, อังศินันท์ อินทรกำแหง และ กฤตติพัฒน์ ชื่นพิทยาวุฒิ. (2565). “รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านคุณลักษณะทางจิตและสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการ โดยส่งผ่านความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา สาขาผู้ประกอบการ.” วารสารการวัดผลการศึกษา. 39(105) : 273–283.

Tokla Moeut, ชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์, และ อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์. 2564). “การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยบิวด์ไบรท์ ในประเทศกัมพูชา.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 40(5) : 111–125.

Ayalew, M.M. and Zeleke, S.A. (2018). “Modeling the impact of entrepreneurial attitude on self-employment intention among engineering students in Ethiopia.” Journal of Innovation and Entrepreneurship. 7(8) : 1-27.

Cascio, J. (2020). “Facing the Age of Chaos.” [Online]. Available : https://medium.com/@cascio/facing-the-age-of-chaos-b00687b1f51d Retrieved May 17, 2023.

Daft, R. (2017). The leadership experience. USA : Cengage Learning.

Dess, G. G., Lumpkin, G. T., & Eisner, A. B. (2005). Strategic management: Creating competitive advantage. New York : McGraw-Hill Irwin.

Embi, N. A. C., Jaiyeoba, H. B., & Yussof, S. A. (2019). “The effects of students’ entrepreneurial characteristics on their propensity to become entrepreneurs in Malaysia.” Education +Training. 61(8) : 1020-1037.

International Institute for Management Development. (2021). “World Competitiveness Ranking.” [Online]. Available : https://www.imd.org/ centers/world-competitiveness-center/rankings/world-competitiveness/ Retrieved May 19, 2023.

Karabulut, A. T. (2016). “Personality Traits on Entrepreneurial Intention.” Procedia - Social and Behavioral Sciences. 229(19) : 12-21.

Koe, W.L. (2016). “The relationship between Individual Entrepreneurial Orientation (IEO) and entrepreneurial intention.” Journal of Global Entrepreneurship Research. 6(13) : 1-11.

Krauss, S. I., Frese. M., Friedrich, C., & Unger, J. M. (2005). “Entrepreneurial orientation : A psychological model of success among southern African small business owners.” European Journal of Work and Organizational Psychology. 14(3) : 315-344.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970) “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement. 30 : 607-610.

The Global Innovation Index. (2020). “The inteavtive database of the GII 2020 indicators.” [Online]. Available : https://www.globalinnovationindex.org/analysis-indicator. Retrieved May 5,2023.

Twum, K.K., Kwakwa, P.A., Ofori, D. et al. (2021). “The relationship between individual entrepreneurial orientation, network ties, and entrepreneurial intention of undergraduate students: implications on entrepreneurial education.” Entrepreneurship Education. 4 : 39-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)