การพัฒนาระบบฐานความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • สุภาสินี วิเชียร Surindra Rajabhat University
  • สันทนา กูลรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สังวาลย์ ตุกพิมาย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ชลิตา คำหอม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • กิติศักดิ์ จันฤาไชย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ระบบฐานความรู้, ป่าชุมชน, ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน 2) เพื่อพัฒนาระบบฐานความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and develop: R&D) แบ่งการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1) การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในศึกษาสภาพบริบทและการจัดการความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน ผู้ให้ข้อมูล (Key informant) ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน จำนวน 15 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แนวทางการสัมภาษณ์ (Interview guideline) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และจัดหมวดหมู่เนื้อหา (Classification) 2) การพัฒนา (Development) เป็นการออกแบบระบบฐานความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน จากนั้นจึงทดลองใช้และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน โดยผู้ใช้ความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน จำนวน 25 คน ด้วยแบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตรวัด 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\tilde{x} ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
     ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความรู้ในกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน มีกระบวนการจัดการความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน ประกอบด้วย การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ การแบ่งปันความรู้ และการเรียนรู้ 2) การพัฒนาระบบฐานความรู้ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน เป็นระบบฐานความรู้ที่แสดงกลุ่มความรู้ 6 กลุ่ม ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของป่าอาลอ-โดนแบน ความเชื่อและพิธีกรรม วิถีชีวิตของคนกับป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน ปราชญ์ป่าชุมชน  แนวทางการอนุรักษ์ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน และการบริหารจัดการป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน ระบบฐานความรู้ประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ ได้แก่ ระบบการจัดการข้อมูล ระบบการสืบค้นข้อมูล (Full text search, Keywords search, Browse search) และระบบแสดงรายละเอียดข้อมูล และ 3) การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบทั้ง 4 ด้าน พบว่าด้านความครบถ้วนสมบูรณ์ การเชื่อมโยงของเนื้อหา ด้านความสะดวก รวดเร็วในการสืบค้น (การค้นคืน) ด้านการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงเนื้อหา และด้านความสวยงาม และน่าใช้งานของระบบ อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกวรรณ ทุมอนันต์, อดิศักดิ์ ทุมอนันต์ และฉัตรชัย ชมชารี. (2564, มกราคม – มิถุนายน). “การจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ป่าชุมชนดงหัน บ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด.” วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 5(1) : 33-41.

กรมป่าไม้. (2562). “พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.forest.go.th/law/wpcontent/uploads/sites/ 33/2019/06 พระราชบัญญัติ-ป่าชุมชน-พ.ศ.2562.pdf สืบค้น 15 กรกฎาคม 2564.

กรมป่าไม้ ส่วนส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน. (2558). “ฐานข้อมูลป่าชุมชน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.forest.go.th/index.php?lang=th สืบค้น 15 กรกฎาคม 2564.

โกมล แพรกทอง. (ม.ป.ป.). แนวคิดป่าชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง. (2557). “ข้อตกลงและกฎระเบียบป่าชุมชน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.khaorao.org/about-05.html สืบค้น 8 มิถุนายน 2564.

ณรงค์ ทองรักษ์. (2554). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทะเบียนป่าชุมชนของกรมป่าไม้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เดือนนภา ภู่ทอง. (2561, พฤษภาคม - สิงหาคม). “การจัดการป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืน โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสาธารณะและจารีตประเพณีท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ.” วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 6(2) : 80-94.

บดินทร์ วิจารณ์. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

บุญดี บุญกิจจา และคณะ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จิรวัฒน์เอ็กซเพลส.

พรเทพ ศรีธนาธร. (2553). “การจัดการปาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน : กลไกการจัดการการมีสวนร่วมและความสำเร็จของชุมชนในการอนุรักษ์ปาชุมชนห้วยแม่หิน จังหวัดลำปาง.” วารสารการจัดการป่าไม้. 4(8) : 74-91.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). “ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ).” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018. pdf สืบค้น 12 กรกฎาคม 2566.

สํานักจัดการป่าชุมชน. (2562). คู่มือการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ศุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี. (2562). ถอดบทเรียนป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน. กรุงเทพฯ : กองทุนสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

Danskin, P., Englis, B., Solomon, M., Goldsmith, M., and Davey, J. (2005). “Knowledge management as competitive advantage : lessons from the textile and apparel value chain.” Journal of Knowledge Management. 9(2) : 91-102.

Davenport, T.H. (1998). “Some Principles of Knowledge Management.” [Online]. Available : www.itmweb.com/essay538.htm. Retrieved October 15, 2011.

Nonaka, I., and Takeuchi, H. (1995). The Knowledge-Creating Company, How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. England : Oxford University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)