รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนฐานคิด Model เศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืน ตำบลโคกยาง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ ร่วมพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ฉัตรเกษม ดาศรี คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อภิชาติ แสงอัมพร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • มัญญนา จำปาเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ศศินิภา แต้มทอง นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จิรวรรณ สัญจรดี นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, โมเดลเศรษกิจใหม่, เศรษฐกิจชีวภาพ, เศรษฐกิจสีเขียว, เศรษฐกิจหมุนเวียน

บทคัดย่อ

     การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ไว้ จำนวนทั้งสิ้น 17 เป้าเหมาย สำหรับเป็นกรอบการดำเนินการที่มุ่งตอบสนองความต้องการของประชากรในสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้การบรรลุ SDGs นั้นจะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ประการคือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth) ความครอบคลุมทางสังคม (social inclusion) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (environment protection) อย่างสมดุล  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนฐานคิด Model เศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืนในตำบลโคกยาง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 389 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะจง จำนวน 33 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนฐานคิด Model เศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืนในตำบลโคกยาง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจสีเขียว และด้านที่น้อยที่สุดคือด้านเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สำหรับผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนฐานคิด Model เศรษฐกิจ BCG ที่เกี่ยวกับการเกษตรทางด้านชีวภาพ เกษตรหมุนเวียนและเกษตรสีเขียว ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นและสามารถนำความรู้ต่อยอดเป็นอาชีพได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน สามารถเป็นกิจการของชุมชนในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ ที่ดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และส่งเสริมให้มีระบบการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กษิดิศ ใจผาวัง และคนอื่น ๆ. (2565, มกราคม-เมษายน). “การใช้ทรัพยากรทางชีวภาพในชุมชนในการลดต้นทุนเพาะปลูก กรณีศึกษาการปลูกข้าวในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย.” วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 6(1) : 59-73.

กิตติภูมิ มีประดิษฐ์. (2564). “การพัฒนาความตระหนักในสิ่งแวดล้อมด้วยวิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียน.” ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4 วันที่ 11 พฤษภาคม 2564. หน้า 538-576. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2566). “Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://soc.swu.ac.th/news/ sustainable -development-goals-sdgs สืบค้น 9 กันยายน 2566.

ทัพไท หน่อสุววรรณ และคนอื่น ๆ. (2564, กันยายน-ธันวาคม). "การเกษตรในเมืองกับ BCG Economic Model." วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 38(3) : 100-116.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : วี อินเตอร์ พริ้นท์.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ และ สุธี โกสิทธิ. (2563). “รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นไทย 4.0.” วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(2) : 289-303.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ และ ชัยณรงค์ เครือนวน. (2559). "เศรษฐกิจสีเขียวในชุมชนท้องถิ่นไทย : ศึกษาชุมชนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก." วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา. 3(2) : 85-102.

ภัทร์ธมนต์ พลรงค์, จิตพนธ์ ชุมเกตุ และ เกิดศิริ เจริญวิศาล. (2565, กรกฎาคม-กันยายน). "การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวกับการจัดงานอีเวนต์." Journal of Arts Management. 6(3) : 1406-1422.

วนิดา เสร็จกิจ. (2563, มกราคม-มิถุนายน). “การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในบริบทของการพัฒนาประเทศ.” วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา. 8(1) : 81-106.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). “BCG Economy Model.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nstda.or.th/home /knowledge_post/what-is-bcg-economy-model สืบค้น 9 กันยายน 2566.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). “เกี่ยวกับ SDGs.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs สืบค้น 9 กันยายน 2566.

องค์การบริหารส่วนตำบลโคกยาง. (2566). “แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570).” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.khokyanglocal.go.th/ khokyanglocal/mainfile/uploadsfiles374 สืบค้น 9 กันยายน 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)