พิธีอ้อ : การเข้าทรงของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
พิธีอ้อ, การเข้าทรง, ดนตรีในพิธีกรรม, กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีอ้อของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวในจังหวัดสุรินทร์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางดนตรีของเพลงประกอบพิธีอ้อ ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ในจังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัยมีดังนี้
พิธีอ้อบ้านแคนน้อย ตำบลแคน อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการนับถือผี ผีอ้อเป็นผีหรือเทวดาประเภทหนึ่ง เชื่อว่าสามารถช่วยในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วย มีพิธีกรรม คือ การไหว้ครูอ้อ เซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ผีปู่ย่าตายาย จัดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ประจำทุกปี พิธีถูกจัดขึ้นให้ตรงกับวันอังคารและวันพุธเท่านั้น แต่ถ้าวันอังคารและพุธใดตรงกับวันเดือนดับ คือ แรม 14 ค่ำและแรม 15 ค่ำ ไม่สามารถประกอบพิธีอ้อได้เชื่อว่าเป็นวันที่ไม่ดี จากการวิจัยพบว่า พิธีอ้อมีองค์ประกอบของพิธีสำคัญ 3 ประการคือ 1) สถานที่ประกอบพิธี เป็นห้องเฉพาะบริเวณชั้น 2 ของบ้าน 2) เครื่องดนตรี คือ แคน มีหมอม้า เป็นผู้ บรรเลง และ 3) เครื่องเซ่นไหว้ ได้แก่ คายอ้อ คายครู ฮ้านอ้อยอดธรรม เครื่องเซ่นผีบรรพบุรุษ เครื่องเซ่นหมอม้าและครูบา เครื่องเซ่นอ้อร่างทรง และเครื่องเซ่นคาย ผู้เกี่ยวข้องกับพิธีอ้อ ประกอบด้วย ครูบา อ้อ หมอม้า และเจ้าภาพ ขั้นตอนพิธี ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเชิญครูบา เชิญหมอม้าและเชิญอ้อ 2) ขั้นเซ่นผีบรรพบุรุษ 3) ขั้นการจัดเตรียมสถานที่ 4) ขั้นการประกอบพิธีอ้อ และ 5) ขั้นปงพาข้าว
การศึกษาลักษณะเฉพาะทางดนตรีของเพลงประกอบพิธีอ้อ ผู้วิจัยกำหนดประเด็นในการศึกษา 4 ประเด็น ได้แก่ 1) โครงสร้างเพลง 2) บันไดเสียง เสียงหลักและ โหมดเสียง 3) พิสัย และ 4) แนวการดำเนินทำนอง การวิเคราะห์โครงสร้างเพลง พบว่าทำนองเพลงแถนและทำนองเพลงอ้อมีโครงสร้างเพลงเป็นเพลงท่อนเดียวบรรเลงซ้ำไปมาจนกว่า ผู้ทำพิธีจะหยุด ทำนองเพลงแถน มีลักษณะเป็นการด้นลายที่ต่อเนื่องกัน ในการดำเนินทำนองพบการขึ้นเสียงแคน (จ้วดหรือจ้าดแคน)ก่อนที่จะบรรเลงทำนองต่อไป การดำเนินทำนองอยู่ในบันไดเสียง F Minor มีการใช้โน้ตเพลง 6 เสียง ดังนี้ C Db Eb G Ab C' ทำนองเพลงแถนมีโน้ตต่ำสุด คือ Ab โน้ตสูงสุด คือ Eb เป็นคู่ 12 Perfect แนวการดำเนินทำนองมีลักษณะการเคลื่อนที่ของทำนองแบบตามขั้นและแบบข้ามขั้น การบรรเลงจะบรรเลงซ้ำๆ จนกว่า ครูบาจะให้สัญญาณให้หยุดเป่าหรือเสร็จขั้นตอนพิธี ทำนองเพลงอ้อมีการดำเนินทำนองอยู่ในบันไดเสียง F Minor ประกอบด้วยเสียง F G Ab Bb C Db Eb F' ทำนองเพลงอ้อมีโน้ตต่ำสุด คือ Ab โน้ตสูงสุด คือ Eb เป็นคู่ 12 Perfect แนวการดำเนินทำนองมี ลักษณะการเคลื่อนที่ของทำนองแบบตามขั้นและแบบข้ามขั้น การบรรเลงจะบรรเลงซ้ำ ๆ ของทำนองจนกว่าครูบาจะให้สัญญาณให้หยุดเป่าหรือเสร็จขั้นตอนพิธี
Downloads
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2550). นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
กาญจนา ชินนาค. (2543). การศึกษาประเพณีและพิธีกรรมรำผีมอญ บ้านวัดเกาะ ตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี : สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
เครือจิต ศรีบุญนาค. (2539). แกลมอ : การฟ้อนรำในพิธีกรรมของชาวไทยกูยสุรินทร์. สุรินทร์ : ภาควิชานาฏศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสุรินทร์.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2538). มานุษยดนตรีวิทยา ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
_____. (2563). ทฤษฎีเพื่อการวิจัยและสารัตถบทดนตรี. ลพบุรี : โรงพิมพ์นาฏดุริยางค์.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2563). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ธนาเพรสจำกัด.
พิมพ์ กอสาลี. (2562, กรกฎาคม 23). สัมภาษณ์.
ยศ สันตสมบัติ. (2540). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วันดี ชุมสุข. (2562, กรกฎาคม 23). สัมภาษณ์.
สมศักดิ์ มูลคำ. (2563, กุมภาพันธ์ 10). สัมภาษณ์.
สาน กุมภัณฑ์. (2562, กรกฎาคม 23). สัมภาษณ์.
Chenoweth, Vida. (2006). Melodic perception and analysis. 3 ed. Virginia Whitney. Lansdael PA.
Kunst, Jaap. (1992). Ethnomusicology. Maetinus Nijholl The Hague, Netherlands.
Merrian, Alan. (1980). The anthropology of music. Northwestern University.
Myer, Helen. (1992). Ethnomusicology an Introduction. W.W. Norton & Company, Inc., New York.