การบริหารจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง และปุ๋ยอินทรีย์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ผลิตขยะเป็นเชื้อเพลิง, ปุ๋ยอินทรีย์, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งหางแมวเกือบทั้งหมด เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนซ่อง สภาพชุมชนบางส่วนเป็นชุมชนเมือง มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมที่ค่อนข้างรวดเร็วรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน และมีแนวโน้มก่อให้เกิดปัญหาปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาแนวทางและเปรียบเทียบความเหมาะสม ในการบริหารจัดการโครงการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (RDF) และปุ๋ยอินทรีย์ระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งหางแมวกับบริษัทเอกชน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและสนทนากลุ่มเฉพาะ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งหางแมว 7 คน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติและหัวหน้าวิศวกรบริษัทเอกชน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างโรงงานจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (RDF) และปุ๋ยอินทรีย์ 3 บริษัท ๆ ละจำนวน 2 คน คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมทั้งระดับผู้บริหารขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและหัวหน้าวิศวกรภาคเอกชนเห็นควรจ้างเหมาเอกชนมาดำเนินการ จะคุ้มทุนมากกว่าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเอง เพราะจะเกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน ไม่ติดขัดที่ระเบียบการบริหารงานท้องถิ่นที่เกี่ยวกับด้านงบประมาณที่ต้องนำมาดำเนินการในการปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งหางแมวยังไม่มีความพร้อมในเรื่องความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของเครื่องจักรกล ระบบการเดินเครื่องจักรกล ระบบไฟฟ้ากำลังที่ต้องใช้กับระบบการเดินเครื่องจักรกล เป็นต้น โดยเห็นได้จากกรณีจังหวัดระยองที่กำลังดำเนินการอยู่เพราะว่าบริษัทเอกชนที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการได้ดีกว่าทั้งด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของเครื่องจักรกล และด้านการบริหารจัดการต่างๆ เนื่องจากบริษัทเอกชนมีความพร้อมในทุก ๆ ด้านและมีความคล่องตัวมากกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งหางแมว
Downloads
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ.2559 – 2564. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
_____. (2565). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ : กรมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). นโยบายและแผนส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540-2559. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม. (2561). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). กรุงเทพฯ : ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม.
สลิลดา ไชยชมภู. (2562). ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลือชัย วงษ์ทอง. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. ชลบุรี : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
_____. (2561). การวางแผนและการบริหารโครงการ. ชลบุรี : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
_____. (2561). การบริหารการพัฒนา. ชลบุรี : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ตติยาภรณ์ วรวงศ์ไกรศรี และ โสภิตสุดา ทองโสภิต. (2554). “การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศไทย กรณีศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต.” วารสารวิจัยพลังงาน. 8(3) : 47-57.
พรรษา ลิบลับ. (2561). การเพิ่มศักยภาพการจัดการขยะในพื้นที่เกาะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. นครราชสีมา : สำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์ สมเกียรติ คุณเผือก และอาริศรา ทะริยะ. (2550). โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ขยะชุมชนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2550). ประกาศคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในการกิจการของรัฐที่ให้สัมปทานแก่เอกชน ตามพระราชบัญญัติกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2556). ประมวลกฎหมายตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ.
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งหางแมว. (2561). เอกสารรายงานประจำปี 2560. จันทบุรี : สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งหางแมว.