การศึกษาศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากผลกระทบของ COVID-19 จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อรนุช แสงสุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • กานต์ กาญจนพิมาย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ภัทระ อินทรกำแหง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • พงษ์พันธ์ พึ่งตน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นัยนา อรรจนาทร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

จังหวัดสุรินทร์, ชุมชนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา, ผลกระทบของ COVID-19, ศักยภาพทางเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

     การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศในด้านเศรษฐกิจ ในภาคสินค้าและบริการมีบทบาทสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่เศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม การกำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเดียวกันเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจนั้นส่งผลต่อ เศรษฐกิจภาพรวมและท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากผลกระทบของ COVID-19 จังหวัดสุรินทร์ เป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจในบริบทของการค้าระหว่างชายแดนท้องถิ่นซึ่งก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนท้องถิ่นให้สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองซึ่งผู้วิจัยได้โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเก็บรวบรวม ข้อมูลภาคสนาม โดยการสำรวจ การสังเกตการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูล มาวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

     ศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นในพื้นที่ตลาดช่องจอมมีการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวเศรษฐกิจชายแดนไทย - กัมพูชา หลังสถานการณ์ COVID-19 อาชีพค้าขายของชุมชนได้เริ่มกลับมามีชีวิตชีวา หลังจากหายไปสามปีกว่าผู้ประกอบการค้า มีผลกระทบทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ไม่มาก  เพราะได้ตั้งรับกับสถานการณ์ที่มีอาชีพสำรอง สร้างรายได้ช่วงวิกฤติคือการขายในระบบออนไลน์ การแข่งขัน และการลงทุน การจำหน่ายสินค้าในตลาดช่องจอมมีความหลากหลายและจำนวนมาก นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีเงินทุนสำรองไว้ในการดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่อง สภาพคล่อง ชาวกัมพูชาจะนิยมบริโภคสินค้าจากประเทศไทย มีความต้องการสินค้าเกือบทุกประเภทที่ส่งออกไปจากประเทศไทย ทำให้เกิดการขยายตัวในการส่งออก มีการค้าขายกันมากขึ้น ถนนในฝั่งไทยสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น มีการขนส่งสินค้าเข้ามาจากในเมือง แต่ในเรื่องของคุณภาพของสินค้านั้น ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะในตลาดมีสินค้าหลายเกรดให้ได้เลือกหลายระดับ มีทั้งของปลอดภาษี ของเลียนแบบ ดังนั้น การยกระดับเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้นผู้ประกอบการในชุมชนต้องมีการศึกษาตลาดเพิ่มเติม จัดหาแหล่งสินค้าที่ประหยัดต้นทุนเพิ่มขึ้นและเตรียมวางแผนเรื่องเงินทุนสำรองเพื่อการขยายตลาดในอนาคตมีการปรับปรุงร้านค้า และดูแลความสะอาด จัดร้านให้เป็นระเบียบในด้านของสินค้าให้มีคุณภาพ มีความหลากหลายยิ่งขึ้น

คำสำคัญ (Keywords) : จังหวัดสุรินทร์, ชุมชนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา, ผลกระทบของ COVID-19,ศักยภาพทางเศรษฐกิจ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการค้าต่างประเทศ. (2544). “การค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dft.moc.go.th /document/forengtradeserince.horizon สืบค้น 15 ธันวาคม 2565.

ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2529). คู่มือการวิจัยเพื่อการพัฒนา. ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชุมพล ปัทวัน. (2565, กรกฎาคม 7). เจ้าหน้าที่รัฐ. สัมภาษณ์.

ชูสิทธ์ ชูชาติ (2542). ศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2537). อุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคมไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.

สุวิจักขณ์ กุลยศชยังกูล. (2565, กรกฎาคม 12). สัมภาษณ์.

เอกรัตน์ มาพดุง. (2565, กรกฎาคม 7). สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)