การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแห่งศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ญาณิศา สู่ทรงดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วิโรจน์ ทองปลิว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จงกิจ วงษ์พินิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ทองพูล ขุมคำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ศิรประภา รัตนรวมการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

     ปัจจุบันโลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน กระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นแห่งศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสังคมอย่างทั่วถึง ดังนั้นผู้เรียนจึงต้องเตรียมความพร้อมโดยมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้  ผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็นเพื่อเผชิญกับอนาคตในทางบวกที่มีทั้งความสำเร็จและมีความสุข

    การจัดการศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นการสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century) โดยครอบคลุมทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะด้านศีลธรรม และทักษะภาษาต่างประเทศ ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลผลิตใหม่ ๆ การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารเป็นตัวขับเคลื่อน และคนไทยในยุคนี้จำเป็นต้องมีทักษะความเป็นนานาชาติ อันเป็นความรู้ความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมโลกที่เชื่อมโยงถึงกันได้ รู้และเข้าใจความแตกต่างของบุคคลต่างวัฒนธรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร และสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้ ภาษาอังกฤษจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในฐานะภาษาสากลที่นิยมใช้ติดต่อสื่อสารกันในสังคมโลกและนับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเข้าถึงผู้คนทั่วโลกได้

    แนวคิดทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือภาษา    ต่างประเทศในปัจจุบัน ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะทางการสื่อสาร การจัดการเรียนการสอนจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนภาษาสามารถใช้ภาษาสื่อสารในสังคมโลกได้จริง พัฒนาผู้เรียนภาษาให้มีความรู้หลักภาษาควบคู่กับการใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ผ่านกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) และการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Collaboration and Team Work) การสอนภาษาที่เน้นภาระงาน (Task-Based Instruction) นับเป็นแนวการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาสื่อสารอย่างมีความหมาย มีทักษะคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อทำกิจกรรมหรือชิ้นงานให้สำเร็จ ช่วยให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้และทักษะภาษาที่ใช้ในสถานการณ์สื่อสารจริง ผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitator) ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ขึ้นเองจากการเรียนตัวภาษาและการใช้ภาษาในสถานการณ์สื่อสารได้เหมาะสม ผ่านกิจกรรมสื่อสาร ที่หลากหลาย (Communicative Activities) การสอนภาษาที่เน้นภาระงานนับเป็นแนวการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับความจำเป็นในสังคมปัจจุบัน ที่ต้องการพัฒนาคนไทยให้มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แบบฝึกประกอบการสอนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เบญจวรรณ พงศ์มัฆวาน. (2544). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนวัดเจ็ดยอด อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

American Council on the Teaching of Foreign Languages. (2011). “Language Learning in the 21st Century Innovative Language Classroom on the Hill.” [Online]. Available : https://www.actfl.org/about-the-american-council-the-teaching-foreign languages/resources/language-learning-the-21st Retrieved August 29, 2016.

Brathwaite, Jessica. (2016). “Neoliberal Education Reform and the Perpetuation of Inequality.” [Online]. Available : http://crs.sagepub.com/content/early/2016/06/01/0896920516649418.full.pdf Retrieved August 24, 2016.

Brown, James Dean. (1995). The Elements of Language Curriculum. New York: Heinle and Heinle.

Council of Europe. (2013). Common European Framework of Reference for Languages. Cambridge, UK : Cambridge University Press.

Ertmer, Peggy A.; & Newby, Timothy J. (2013). “Behaviorism, Cognitivism, Constructivism : Comparing Critical Features from an Instructional Design Perspective.” Performance Improvement Quarterly. 26(2) : 43 - 71.

Graves, Kathleen. (2000). Designing Language Courses: A Guide for Teachers. Boston : Heinle.

Herrera, Socorro G & Murry, Kevin G. (2005). Mastering ESL and Bilingual Methods: Differentiated Instruction for Culturally and Linguistically Diverse (CLD) Students. Boston : Allyn and Bacon.

Hursh, David. (2001). “Neoliberalism and the Control of Teachers, Students, and Learning: The Rise of Standards, Standardization, and Accountability.” [Online]. Available : http://clogic.eserver.org/4-1/hursh.html Retrieved September 23, 2016.

Koehler, M. J & Mishra, P. (2008). Handbook of Technological Pedagogical Content Knowledge (TPCK) for Educators. New York : Routledge.

Kramer, Pamela A. (2003). “The ABC’s of Professionalism.” Kappa Delta Pi Record. 40(1) : 22 - 25.

Liu, Siping et al. (2014). “TPACK: A New Dimension to EFL Teachers’ PCK.” Journal of Education and Human Development. 3(2) : 681 - 693.

Nunan, David. (1999). Second Language Teaching & Learning. Boston : Heinle and Heinle.

Ornstein, Allan C & Hunkins, Francis P. (1998). Curriculum Foundations, Principles, and Issues. 3rd ed. Boston : Allyn and Bacon.

Patterson, Jean A. (2015). 21st Century Learning Initiatives. In Neoliberalizing Educational Reform: America’s Quest for Profitable Market. Edited by K. Sturges. pp. 213-237. Boston, MA: Sense.

Richards, Jack C. (1998). Beyond Training: Perspectives on Language Teacher Education. Cambridge: UK: Cambridge University Press.

Rotherham, Andrew J.; & Willingham, Daniel. (2009). 21st Century Skills: The Challenges Ahead. Educational Leadership. 67(1): 16-21.

Shulman, Lee. (1987). Knowledge and Teaching: Foundations of the New Reform.

Harvard Educational Review. 57(1): 1-23.

Tsui, Amy. B. M. (2003). Understanding Expertise in Teaching. New York: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)